40,000 บาทภายใน 7 วันกับ Diamond Holiday...ของจริง มาเป็นต้นสายก่อนใคร...ถ้าคุณรู้จัก TVI express นี่คือโปรแกรมที่จะมาทดแทนและอุดปัญหาที่เคยพบเจอ

www.diamondholidaytravel.co.cc

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

โอกาสประมาทร่วมเป็นไปได้ไหม

โอกาสประมาทร่วมเป็นไปได้ไหม
ถ้า รถทางโค้งขึ้นดอยโผล่ออกมานอกเลนของเขาทำให้เราต้องแตะเบรคแต่เป็นช่วงที่ ถนนลื่นทำให้รถของเราไปชนในเลนของเขาทางตำรวจบอกว่าหลักฐานไปทางเขาหมดเพราะ เศษสิ่งต่างตอกอยู่ที่เลนกลางแล้วทางเขาเป็นสองเลนทางเราเป็นเลนเดียวอย่าง นี้ทางเราพอสู้เป็นประมาทร่วมได้ไหมคะ

รถตัดหน้าหักหลบชนเกาะกลาง

รถตัดหน้าหักหลบชนเกาะกลาง
รถตัดหน้าหักหลบชนเกาะกลางถนน รถพังยับ คู่กรณีจอดลงมาดู
และให้นามบัตรพร้อมกับเลขกรมธรรมไว้ แบบนี้สามารถโทรไป
เรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทประกันของคู่กรณีได้มั๊ยครับ
คือไม่แน่ใจเพราะรถผมไม่มีประกันนะครับ

โดนรถชนแล้วไม่รับผิดชอบ

โดนรถชนแล้วไม่รับผิดชอบ
เมื่อ วันที่ 2 ส.ค. 52 แม่ข้ามถนนแถวสวนส้มธนาธร(รัตนาธิเบศ)โดนรถมอเตอร์ไซต์ชน ทำให้ซีโครงหักประมาณ 4-5 ซี กระดูกที่หักทิ่มปอด กระดูกข้อมือหัก กระดูกขาหัก 2 ท่อน ใส่ีเหล็กที่ขา ผู้ชนไม่ได้หลบหนีแต่แจ้งความว่าแม่วิ่งตัดหน้ารถ ซึ่งแม่ข้ามถนนกับเพื่อนไม่เห็นรถมอเตอร์ไซต์ วันรุ่งขึ้นไปพบตำรวจที่สน. ตำรวจบอกว่าคนที่ขับมอเตอร์ไซต์ต้องการเรียกร้องค่าซ่อมมอเตอร์ไซต์จากแม่ แม่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มีประกันสังคม ฝ่ายที่ขับรถมอเตอร์ไซต์ระงับการจ่าย พรบ. และมาเยี่ยมที่โรงพยาบาลให้แม่ยอมรับความผิดเพื่อให้ พรบ.จ่ายค่ารักษาพยาบาล และอย่าฟ้องร้องคดีเพราะไม่มีทางชนะ และจะเสียค่าทนายเป็นจำนวนมาก หรืออีกทางคือให้ยอมความยอมรับผิด และออกค่ารักษาพยาบาลเอง ทางเขาจะออกค่าซ่อมมอเตอร์ไซต์เอง เป็นอย่างนี้จะเริ่มต้นอย่างไรดีค่ะเพราะเค้าอ้างว่าตกงาน ไม่มีเงิน ที่สำคัญเขาเอารถมอเตอร์ไซต์ออกมาขับได้แล้ว ขอคำปรึกษาด่วนด้วยนะค่่ำะ

"ขับรถชน!!! อย่าตกใจ โปรดปฏิตามขั้นตอนนี้"

"ขับรถชน!!! อย่าตกใจ โปรดปฏิตามขั้นตอนนี้"
(เข้าชมทั้งหมด 447 คน)

อุบัติเหตุบนท้องถนน มีให้เห็นได้เสมอทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสารพัดตลอดทั้งปีของบ้านเรา มีทั้งบาดเจ็บเล็กน้อย กระทั่งเสียชีวิต อีกกรณีก็คือพวกที่ชอบ "ชนแล้วหนี" มีให้เห็นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน ซึ่งฟังแล้วทำให้รู้สึกว่าคนสมัยนี้ขาดความรับผิดชอบและประมาทกันมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มักจะตกใจจนไม่มีสติไม่รู้จะทำอย่างไรดี ที่สำคัญอุบัติเหตุบนท้องถนนยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทยด้วย แต่เมื่อห้ามกันไม่ได้หากจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ตัวคุณไม่ว่าจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ก็ตามลองมาดูแนวทางปฏิบัติที่"ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" นำมาให้อ่านกัน

1 ถ้าเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์
ควรช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ตามสมควรและเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดีโดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นคนคันหนึ่งชนคนแล้วหนีสิ่งที่เราควรทำก็คือพยายามจดจำทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถแล้วรีบแจ้งตำรวจทราบ เพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีบางคนถึงกับขับรถตามไปคนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีต่อสังคม

2 ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน
สิ่งแรกที่ควรทำก็คือท่านต้องร้องให้คนอื่นช่วย ถ้าท่านยังมีสติอยู่ เพราะว่าคนที่มามุงดูอาจจะไม่ทราบว่าท่านบาดเจ็บร้ายแรงเพียงใดหากท่านยัง สามารถพูดได้ก็ขอให้บอกว่าเจ็บที่ตรงส่วนใดเพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้อง ต้น ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาทีหลัง หากเราบาดเจ็บเล็กน้อยและไม่มีพยานในที่เกิดเหตุเราควรจดทะเบียนรถไว้ เผื่อไปเรียกร้องค่าเสียหายที่หลัง

3 ถ้าท่านเป็นผู้ขับ
กรณีนี้อย่าหนีเป็นอันขาดเพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไรควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนเสียชีวิต แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดีบางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านมีน้ำใจ

หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดดังนี้
3.1 ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาล
3.2 ต้องไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบแจ้งตำรวจใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
3.3 แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้เสียหาย
3.4 ถ้าเป็นผู้ขับขี่ที่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กฎหมายให้ สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิดและตำรวจมีอำนาจยึดรถไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับ ขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สิ้นสุด
3.5 ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามกฎข้อ 1, 2 และ 3 แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท

4.ถ้ารถท่านมีประกันก็ต้องรีบแจ้งต่อบริษัทประกันทันที
เพราะบริษัทประกันจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมกับทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมเพื่อเอาไว้สู้คดี

5 ถ้ามีกล้องถ่ายรูปต้องรีบถ่ายรูปรถไว้ทันที
นอกจากนี้ยังต้องถ่ายรายละเอียดต่างๆไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายตามจุดต่างๆของรถ รวมถึงรถของคู่กรณี หรือหากว่ามีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุก็ให้ขอรูปจากมูลนิธิที่ทำการเก็บภาพไว้เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีในภายหลัง

6 ควรช่วยเหลือคนเจ็บ หรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต
เรื่องนี้สำคัญมากๆคนขับรถมักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ความจริงเมื่อคุณขับรถชนคนเสียชีวิต หรือบาดเจ็บหรือขับรถโดยประมาทนั้นมีโทษทางอาญฟา
- ทางอาญา คุณอาจจะต้องรับโทษจำคุก
- ทางแพ่ง คุณจะต้องชดเชยค่าเสียหายค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับคู่กรณี หากคุณช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ไม่ชนแล้วหนี ต่อมาเมื่อเรื่องถึงศาล ศาลก็จะเห็นถึงความมีน้ำใจของคุณก็อาจจะรอลงอาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณหนีศาลมักจะให้จำคุกเลยเพราะเห็นว่าคุณเป็นคนแล้งน้ำใจ การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มาก
ยก ตัวอย่างเช่นถ้าไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่าไม่ให้คืนของกลางให้แก่ผู้ต้องหาจนกว่าผู้ต้องหา จะพยายามตกลงกับผู้เสียหายและถ้าคุณยอมชดเชยค่าเสียหายและค่าทำศพให้กับผู้ เสียหาย คดีแพ่งก็ระงับเพราะถือว่ายอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายคุณในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว
ทั้งนี้การใช้รถใช้ถนนร่วมกันให้ดีขึ้นนั้น เราทุกคนควรขับรถอย่างมีสติไม่ประมาทและมีน้ำใจให้แก่กัน เพียงเท่านี้อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้นแล้ว

ข้อมูลจากหนังสือ เชฟวี่ ทอล์ค

"ขับรถชนอย่งไรให้ได้เปรียบ"

"ขับรถชนอย่งไรให้ได้เปรียบ"
(เข้าชมทั้งหมด 785 คน)

คดี ที่ปวดหัวเรื่องหนึ่งคือคดีรถชนหรือโดนกัน ปวดหัวทั้งคนขับคู่กรณีและพนักงานสอบสวน ใครมีเส้นมีสาย เส้นเล็กเส้นใหญ่ขนมาใช้กัน พวกที่ไม่มีเส้นไม่ค่อยรู้จักตำรวจชั้นผู้ใหญ่ก็ต้องขวนขวาย เป็นเรื่องที่ผมถูกปลุกตอนดึกๆอยู่เสมอ จะบอกเคล็ด(ไม่ลับ)ให้ตามหัวข้อเรื่อง “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ” ผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้าควรทราบ ไม่ได้สอนให้หัวหมอหรือเอาเปรียบคู่กรณี แต่คุณควรจะรู้กฏเกณฑ์กติกาที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน, พนักงานอัยการ,ศาล,ทนายความหรือพนักงานเคลมของบริษัทประกันภัยเขาใช้กัน กฏหมายฉบับเดียวคือพระราชบัญญัติการจราจรทางบกซึ่งมีอยู่แค่ร้อยกว่ามาตรา ผู้ทำหน้าที่สอบสวนและพิพากษาคดีใช้กฏหมายเล่มนี้เป็นคัมภีร์ แต่ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ทราบว่าได้ศึกษากฏหมายฉบับนี้บ้างหรือไม่ บางคนไม่เคยอ่านเลยแต่สอบใบอนุญาตขับขี่ผ่าน คนรุ่นเก่าใช้เส้นสายทำใบอนุญาตขับขี่โดยไม่ได้

สอบ บางคนอ่านเพียงแค่ผ่านตาไปเที่ยวเดียว ฉะนั้นเคล็ดลับของการ “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ”คือ ให้ท่านไปหาซื้อ พ.ร.บ.จราจรทางบกมาอ่านทำความเข้าใจอย่างน้อย ๒ เที่ยวต่อเดือน อ่านทุกเดือนนะครับไม่เช่นนั้นลืม ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเขาต้องเปิดดูบ่อยเพราะมีคดีรถชนหรือโดนกันทุกวัน
ทบทวน ความรู้เดิมกันสักหน่อยนะครับ เริ่มตั้งแต่คำจำกัดความ ท่านคงเข้าใจแล้วนะว่า ทางร่วมทางแยก ที่คับขัน เขตปลอดภัย ช่องเดินรถ เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ เส้นแนวหยุด เส้นให้ทาง เส้นทางข้าม เส้นทะแยงห้ามหยุดรถ เส้นชลอความเร็ว ฯลฯมีความหมายเช่นไร และท่านจะต้องปฏิบัติเช่นไรจึงจะถูกต้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่นก็คือผิด เมื่อท่านไม่ปฏิบัติตามกฏจราจรแล้วถือว่าท่านประมาทปราศจากความระมัดระวัง นั่นก็คือถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายผิด ส่วนมากตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจะชี้เบื้องต้นให้คู่กรณีทราบก่อนว่า “คุณเสียเปรียบคู่กรณี”(ที่จะชี้ว่าได้เปรียบคู่กรณีไม่เคยมี ) และมักจะไม่ชี้ชัดร้อยเปอร์เซ็นต์เลยว่า คุณเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นฝ่ายผิด ภาษานักเลงเรียกว่า “แทงกั๊ก” มันมีเหตุผลหลายอย่างครับ
นอกจากนี้แล้ว ยังมีลักษณะสำคัญของกฏหมายฉบับนี้ที่ท่านต้องแม่น คือเรื่องการใช้ทางเดินรถ ตั้งแต่การขับรถ การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า การออกรถ การเลี้ยวรถ การกลับรถ การหยุด การจอด การใช้ความเร็ว การปฏิบัติตามสัญญาณและเครื่องหมายจราจร กฏหมายเขียนไว้ละเอียดยิบ ผมยังงงว่าคดีรถชนเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อกฏหมายกำหนดไว้ชัดเจนให้ทำอย่าง นั้นให้ทำอย่างนี้ ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลย ยกตัวอย่างเช่นการขับขี่รถจะต้องขับขี่ในช่องทางเดินรถ ถนนบางเส้นทางตีช่องทางไว้ให้ขนาดกว้างช่องละประมาณ ๒ เมตรครึ่ง ขนาดของรถยนต์ปกติกว้างที่สุดประมาณ ๑ เมตร ๘๐ เซ็นต์ กฏหมายห้ามขับขี่รถคร่อมเส้นแบ่งช่องทาง เส้นทางใดที่ไม่มีเส้นแบ่งช่องทางเดินรถก็ให้ถือแนวกึ่งกลางถนนเป็นแนวเส้น แบ่ง การขับรถตามกันให้เว้นระยะห่างพอสมควรพอที่ผู้ขับขี่รถคันหลังจะหยุดรถได้ ทันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับรถที่ขับขี่อยู่ข้างหน้า (มีบัญญัตไว้ใน ม.๔๐) เรื่องการเว้นระยะห่างนี้ศาลฎีกาเคยพิพากษาเป็นบันทัดฐานว่าอย่างน้อย ๑๕ เมตร และถ้าหากรถมีความเร็วต้องเว้นระยะห่างมากยิ่งขึ้น ความเร็วของรถยนต์ในเมืองสูงสุดได้ไม่เกิน ๙๐ กม./ชม. และเมื่อขับขี่เข้าเขตเทศบาล หรือผ่านทางแยกต้องลดความเร็วลงครึ่งหนึ่ง ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลยเว้นแต่คุณจงใจจะขับชน สถิติคนตายเพราะอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทยทั้งประเทศ ในยามปกติจะเสียชีวิตชั่วโมงละ ๑ คนครึ่ง ถ้าในช่วงเทศกาลเสียชีวิตชั่วโมงละ ๓ คน (เป็นตัวเลขถัวเฉลี่ย) จะเห็นว่าคนตายเพราะอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกันมากว่าในการสู้รบหรือทำสงคราม และมากกว่าโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อถึงเทศกาลครั้งหนึ่งๆ เช่นวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ มีผู้คนใช้รถใช้ถนนกันมาก อุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงตามไปด้วย รัฐบาลรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยโดยวัดกันที่จำนวนคนตาย สมัยที่ผมยังมีหน้าที่อยู่ (ตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจทางหลวง) เคยเข้า ร่วมประชุม ผมพยายามคัดค้านตลอดว่า จะวัดกันที่จำนวนคนเจ็บคนตายไม่ได้ มันต้องวัดกันที่จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ เรื่องการเจ็บการตายเป็นเรื่องประสิทธิภาพของการแพทย์และหน่วยกู้ภัย ยกตัวอย่างคนขับรถโดยสารขับรถหลับในพาผู้โดยสารจำนวน ๔๐ คนลงเหวข้างทาง ผู้โดยสารและผู้ขับขี่ตายหมด อย่างนี้จะถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควบคุมจัดการจราจรบกพร่องทำให้มี ผู้เสียชีวิตจากการจราจรตั้ง ๔๑ คนไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ประมาทเพียงคนเดียวรายเดียว ผมก็ไม่รู่ว่ารัฐบาลเขาคิดกันยังไง
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกัน

ขับขี่รถใช้ความเร็วเกินกฏหมายกำหนด
เลี้ยวรถตัดหน้ารถอื่นในระยะกระชั้นชิด
เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หยุดรถ เลี้ยวรถโดยไม่ให้สัญญาณก่อนล่วงหน้า
ขับ ขี่รถในขณะที่ร่างกายหย่อนความสามารถในการขับขี่ เช่นหลับในรวมทั้งขับรถในขณะมึนเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นด้วยและท่านได้ โปรดทราบไว้ด้วย
- กรณีเลี้ยวรถทางขวาหรือกลับรถ ห้ามกระทำเมื่อมีรถสวนทางมาในระยะห่างน้อยกว่า ๑๐๐ เมตร(มาตรา ๕๒)
- ผู้ขับขี่รถต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องเดินรถ จอดรถหรือหยุดรถ ในระยะทางไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร (มาตรา ๓๖)
- การขับขี่รถขึ้นหน้ารถอื่นหรือแซงรถ ต้องแซงทางด้านขวา เว้นในกรณีที่รถที่ถูกแซงกำลังจะเลี้ยวขวา หรือเป็นถนนที่แบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่สองช่องขึ้นไป (มาตรา ๔๕)
- การขับขี่แซงขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถซึ่งมิได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายๆครั้ง หรือให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวา เมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางและทำได้อย่างปลอดภัยจึงจะแซงขึ้นหน้าได้ (มาตรา ๔๔) ผู้ขับขี่รถแซงขึ้นหน้ารถอื่นเป็นฝ่ายที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง
- ผู้ขับขี่รถคันที่จะถูกแชง เมื่อจะให้รถอื่นแซงขึ้นหน้า ต้องให้ไฟสัญญาณกระพริบเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถด้านซ้ายหรือไฟเลี้ยว ซ้าย (กรณีแซงด้านซ้ายเป็นเรื่องห้ามแซงตามที่ได้กล่าวไปแล้ว) ข้อนี้เป็นเรื่องของมรรยาทการขับขี่รถ (มาตรา ๓๘อนุ ๓)
- กรณีห้ามแซงเด็ดขาด เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน อยู่ในทางโค้ง(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายให้แซงได้) ภายในระยะ ๓๐ เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียน ทางเดินรถที่ตัดกับทางรถไฟ เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควันทำให้ไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ ๖๐ เมตร เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย (มาตรา ๔๕)
- ในทางเดินรถ ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้ชนหรือโดนคนเดิน เท้า (มาตรา ๓๒ กฏหมายบังคับให้คนขับรถต้องระมัดระวังคนเดินเท้า)
- แต่ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถ ชนหือโดนคนเดินเท้าที่ข้ามถนนทางนอกทางข้าม (เมื่ออยู่ในเขตที่บังคับให้ต้องข้ามในทางข้าม) หรือลอด หรือผ่านสิ่งปิดกั้นห้ามข้ามทาง ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ขับขี่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว มีอำนาจปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหลักประกันได้ (มาตรา ๑๔๕)

โปรด สำรวจตนเองว่าท่านแม่นกฏหมายจราจรเพียงใด แล้วท่านปฏิบัติตามด้วยหรือไม่ ถ้าท่านยังไม่ทราบต้องรีบหาซื้อกฏหมายจราจรมาอ่าน มิฉะนั้นเมื่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนท่านจะพูดอะไรที่มันเข้า ตัว เท่ากับสารภาพผิดไปโดยปริยาย อย่าลืมนะครับ อ่านกฏหมายจราจรเดือนละ ๒ เที่ยวทุกเดือน ขับรถชนเมื่อใดรับรองท่านได้เปรียบ.

พล.ต.ต.อังกูร อาทรไผท

"ขับรถป้ายทะเบียนสีฟ้าพาซวย?"

"ขับรถป้ายทะเบียนสีฟ้าพาซวย?"
(เข้าชมทั้งหมด 1356 คน)

เมื่อทนายตกเป็นผู้ต้องหา?
ไม่ว่าชนชั้นใดหากถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ก็จะต้องมีหน้าที่ไปพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองต่อศาลครับ ก็เป็นที่เข้าใจว่าในระบบกฏหมายของเรานั้นรับมาจากประเทศอังกฤษ เป็นระบบกล่าวหา ผู้ใดถูกกล่าวหาก็จะต้องมีหน้าที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองครับ ข้อหาที่ทนายได้ตกเป็นผู้ต้องหา ก็ไม่ใช่ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษสูงส่งอะไรครับ มีอัตราโทษเพียงปรับไม่เกิน ๒ พันบาทครับ ข้อหาที่ว่า คือ "ทนายถูกพนักงานตำรวจจราจรกล่าวหาว่าเป็นผู้ตัดแปลงสภาพหลังคารถและใช้รถดัด แปลง" หากจะพูดกันให้ชัดลงไปก็คือ รถประจำตัวทนายเป็นรถแบบสี่ประตูลักษณะป้ายทะเบียนเป็นสีฟ้า ป้ายประเภทนี้เป็นป้ายแบบรถนั่งสองแถว ส่วนบุคคลครับ ท่าน ๆ ขับรถไปในท้องถนนใน กทม. จะเห็นว่ารถยนต์ที่ใช้แผ่นป้ายแบบนี้มีมากมายจนนับไม่ถ้วนครับ วิ่งกันไปมาเกลื่อนเมืองครับ ปรากฏว่าทนายไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา เพราะข้อเท็จจริงทนายซื้อรถป้ายแดงจากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ มาทนายบอกว่าให้ติดตั้งหลังคาแครี่บอยกระบะท้ายให้ด้วย พนักงานขายก็ไปดำเนินการตามความประสงค์เรียบร้อยโดยคิดราคารวมกับการชำระ ราคารถยนต์ ทนายชำระเงินให้ไป เรียบร้อย ต่อมาอีกประมาณ ๑ เดือนก็ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนสีฟ้า ทนายใช้รถวิ่งไปเหนือ อิสาน ใต้ ก็ไม่เคยถูกจับสักครั้ง ดันมาถูกจับในกรุงเทพฯ พนักงานจราจรนำพาทนายไปพบร้อยเวร และปฏิเสธ ปรากฏว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าทนายเป็นผู้คัดแปลงรถและนำรถไปตรวจ สภาพ ทนายเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ครับ
ที่ทนายเล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่นคือ พรบ.รถยนต์ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ครับ
ซึ่ง ตัวบทกฏหมาย ระบุว่าผู้ที่จะผิดในเรื่องตามข้อเท็จจริงได้ จะต้องได้เป็นผู้ดัดแปลงและใช้รถดัดแปลงสภาพครับ ในเรื่องดังกล่าวทนายไม่ได้คัดแปลงตามข้อต่อสู้แต่ทนายรับว่ารถคันที่ขับมี หลังคาที่มีระดับความสูงไม่ได้มาตราฐานที่กฏหมายกำหนดไว้ครับ เมื่อวันก่อนทนายได้ยินแว่วมาว่า จะมีการกวดขันจับกุมในเรื่องรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีฟ้า หากท่านที่เข้ามาอ่านพบบทความนี้ หากถูกจับกุมก็ให้ปฏิเสธครับ ยอมเสียเวลานะครับ เพราะทนายต้องการให้มีคดีขึ้นไปสู่ศาลมาก ๆ ครับ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทนายเห็นว่าเป็นการที่เกิดขึ้นจากการทุจริตของเจ้า หน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกร่วมกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ครับ
จาก ทนายรถ..

ความรู้ประกันภัยรถ "การคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี"


· กรณีผู้ประสบภัย ที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดเอง หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ดังนี้ ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้อง ต้น กล่าวคือ หากบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพ จำนวน 15,000 บาท หรือเสียชีวิตภายหลังรักษาพยาบาลจะรับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 30,000 บาท

· กรณีผู้ประสบภัย ที่เป็นผู้โดยสาร/บุคคลภายนอกรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บ และ 80,000 บาท กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร

ความรู้ประกันภัยรถ "ประกันภัยรถภาคบังคับคุ้มครองอะไรบ้าง?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"ประกันภัยรถภาคบังคับคุ้มครองอะไรบ้าง?"


ท่านที่ได้ติดตามบทความ เรื่องความรู้ประกันที่ทนายได้นำขึ้นบนเวบไซต์แล้ว ทุกท่านคงจะรู้และเข้าใจรายละเอียดของประกันภาคบังคับแล้วคืออะไร ในคราวนี้ทนายจะทำความเข้าใจให้ท่านได้ทราบเนื้อหาของความคุ้มครองว่า ประกันภัยภาคบังคับ กฏหมายได้กำหนดให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ดังที่ทนายจะให้รายละเอียดต่อไปนี้

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คือประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ

* ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสารรถ
* ผู้ที่กำลังขึ้นลงรถจากรถ หรืออยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ
* คนเดินเท้า คนข้ามถนน
* คนที่พักอาศัยอยู่ในบ้าน และประสบอุบัติเหตุเนื่องจากรถ

ต่อ ไปทนายจะได้กล่าถึงเรื่องที่เมื่อผู้ประสบภัยได้รับภัยจากรถแล้วจะได้รับค่า สินไหมทดแทนอย่างไรบ้าง ? ซึ่งตาม พ.ร.บ.ได้กำหนดให้ผู้เสียหายได้ ค่าเสียหายคุ้มครองตาม พ.ร.บ. โดย บริษัทประกันภัยจะต้อง จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จะจ่ายแก่ผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอ โดยผู้เสียหายต้องนำเอกสารบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมเอกสารใบ เสร็จค่ารักษาพยาบาล

ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จะแยกจ่ายเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้.

ขั้นแรก จะจ่ายให้เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ในวงเงินค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท/คน
ค่าปลงศพ 15,000 บาท/คน ก่อน

ขั้นที่สอง จะจ่ายเมื่อมีสรุปผลคดี หรือมีคำพิพากษาของศาล ระบุว่าผู้ขับขี่รถคันที่ประกันภัยกับบริษัทฯ
เป็นผู้ขับขี่รถโดยประมาทฯแล้วเท่านั้น บริษัทฯจึงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ในส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นได้ โดย หากบาดเจ็บไม่สาหัส พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี
จะสรุปผลคดีว่าใครขับขี่รถโดยประมาทฯ ผู้ขับขี่รถประกันต้องยอมรับสารภาพ
และลงชื่อเป็นผู้ต้องหา แล้วเท่านั้น จึงจะจ่ายได้ หากบาดเจ็บสาหัสหรือตาย ต้องส่งฟ้องศาล
ต้องพิพากษาว่าขับขี่รถโดยประมาทฯ และผู้ขับขี่รถประกัน ยอมรับสารภาพแล้ว หรือผู้ขับขี่รถประกัน ขับขี่รถโดยประมาทฯ มีคำสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากผู้ขับขี่เสียชีวิตคดีอาญา เป็นอันระงับแล้วเท่า นั้น จึงจะจ่ายได้
โดย..ทนายรถ

ความรู้ประกันภัยรถ "กรมธรรม์ประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่"

ความรู้ประกันภัยรถ

"กรมธรรม์ประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่"


ท่าน ทราบหรือไม่ว่าในปัจจุบันนี้เราสามารถทำประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ ซึ่งเราสามารถชื้อประกันภัยโดยระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ทั้งการซื้อประกันภัย ประเภทที่ ๑ ,๒ และ ๓ ครับ ซึ่งหากเราต้องการหรือประสงค์จะซื้อประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ในการ คำนวณค่าเบี้ยประกันภัย จะนำอายุของคนขับมาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณค่าเบี้ยด้วย ซึ่งเมื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุจะคุ้มครองเฉพาะเมื่อผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อกระทำ เท่านั้น
หากในกรณีที่มีบุคคลอื่น เช่น ภรรยา บุตร ญาติ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ นำรถคันที่ซื้อประกันภัยโดยระบุตัวผู้ขับขี่ไปเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ผู้อื่นได้รับความคุ้มครองด้วย แต่ผู้ทำประกันหรือเจ้าของรถคันนั้นก็ต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายที่เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย
การทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่นี้เหมาะสมกับรถที่ไม่ได้ใช้หลายคน การประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่จะทำได้เฉพาะ
๑ . รถยนต์ส่วนบุคคล
๒. รถจักรยายนส่วนบุคคล
๓. รถดดยสารส่วนบุคคล
ซึ่งสามารถที่จะระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน ๒ คน ครับ
ข้อ ดี ของการเลือกทำประกันภัยโดยระบุชื่อผู้ขับขี่ อยู่ที่การได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยตามช่วงอายุของผู้ขับขี่ที่ระบุ ชื่อไว้ ดังต่อไปนี้

อายุ ๑๘-๒๔ ปี ระบุชื่อ ๑-๒ คน ลดเบี้ย ๕%
อายุ ๒๕-๓๕ ปี ระบุชื่อ ๑-๒ คน ลดเบี้ย ๑๐%
อายุ ๓๕-๕๐ ปี ระบุชื่อ ๑-๒ คน ลดเบี้ย ๒๐%
อายุ ๕๐ปีขึ้นไป ระบุชื่อ ๑-๒ คน ลดเบี้ย ๑๕ %

ความรู้ประกันภัยรถ "การประกันภัยรถยนต์มีกี่ชนิด?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การประกันภัยรถยนต์มีกี่ชนิด?"
(เข้าชมทั้งหมด 972 คน)

ท่านทราบหรือไม่ว่าชนิดของการประกันภัยมีอะไรบ้าง? จากคำถามนี้มีคำตอบว่าประถันภัยมี ๒ ชนิดครับ แยกเป็นดังนี้

๑. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ประกันภัย ตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕
๒. ประภัยภัยภาคสมัครใจ คือประกัยภัยที่กฏหมายไม่ได้บังคับไว้ให้รถยนต์ทุกคันต้องซื้อไม่เหมือนใน ข้อแรก กล่าวคือให้ท่านเจ้าของรถสามารถเลือกซื้อได้ว่าต้องการซื้อประกันภัยเพื่อ ให้มีความคุ้มครองอะไรบ้าง เช่น ตัวรถ บุคคลภายนอก ทรัพย์สินบุคคลภายนอก รถหาย หรือไฟไหม้ ซึ่งการประกันภัยชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป ครับ ในคราวถัดไปทนายจะได้แยกประเภทของประกันภัยของแต่ละแบบให้ท่านได้มีความเข้า ใจกันครับ

จาก ทนายรถ..

ความรู้ประกันภัยรถ "ประกันภัยประเภท ๑ คืออะไร?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"ประกันภัยประเภท ๑ คืออะไร?"
(เข้าชมทั้งหมด 1089 คน)

เราๆ ท่านเมื่อไปซื้อรถคันใหม่ไม่ว่าจะเป็นรถเก่าหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกบังคับให้ต้องซื้อกรมธรรม์ประเภท ๑ แต่ตามประสบการณ์ของทนายไม่เคยมีผู้ใดได้อธิบายให้ฟ้งว่าประกันประเภท๑ คุ้มครองอะไรบ้าง มีแต่ให้เลือกว่าจะซื้อประกันภัยจากบริษัทใด มีให้เลือกหลาย ๆ บริษัทฯแตกต่างกันที่ราคา ในวันนี้ทนายเลยได้นำเอาความคุ้มครองของกรมธรรม์ประเภท ๑ มาให้ท่านทำความเข้าใจกันนะครับ ดังความคุ้มครองที่จะกล่าวต่อไปนี้

1. ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อความบาด เจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 100,000 บาทต่อหนึ่งคน และ 10,000,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 200,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง

3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage : OD) หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยรวมถึงอุปกรณ์และส่วน ควบ โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจำนวนเงินจำกัดความรับ ผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต่รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า

4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft : F&T) หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถคันเอาประกันภัยที่ถูกไฟไหม้และการสูญหาย รวมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหาย รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท)
จำนวนเงินจำกัดความรับผิดสามารถเพิ่มให้สูง กว่าพื้นฐานได้ โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองตามที่ได้ระบุไว้ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล และการประกันตัวผู้ขับขี่

ข้อมูลจาก บจม.เทเวศน์ประกันภัย

ความรู้ประกันภัยรถ "ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ."

ความรู้ประกันภัยรถ

"ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ."
(เข้าชมทั้งหมด 1101 คน)

· ผู้ประสบภัย อันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้

· ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต

ความรู้ประกันภัยรถ "การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง"


ความเสียหายของรถยนต์ที่กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง
๑ การเสื่อมราคาหรือการสึกหรอของรถยนต์
๒.การแตกหักของเครื่องจักรกลไกหรือการเสียหรือการหยุดเดินองเครื่องจักกลไก เครื่องไฟฟ้าของรถยนต์ที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ
๓.ความเสียหายโดยตรงต่อรถยนต์ อันเกิดจากการบรรทุกน้ำหนัก หรือจำนวนผู้โดยสารเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ
๔.ความเสียหายต่อยางรถยนต์ อันเกิดจากการฉีกขาดหรือระเบิด เว้นแต่กรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อส่วนอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน
๕.ความ เสียหายที่เกิดจากการใช้ระยนต์ เว้นแต่เป็นการขาดจากการใช้รถยนต์นั้นเกิดจากบริษัทประกันภัยประวิงการซ่อม หรือซ่อมล่าช้า เกินกว่าที่ควรจะเป็น โดยมีเหตุผลอันสมควร

ทนายรถ

ความรู้ประกันภัยรถ "รถ 2 คัน ชนกัน ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร พ.ร.บ.คุ้มครองเท่าใด?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"รถ 2 คัน ชนกัน ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร พ.ร.บ.คุ้มครองเท่าใด?"
(เข้าชมทั้งหมด 793 คน)

· กรณีรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไป ชนกัน ต่างฝ่ายต่างมีประกันตาม พ.ร.บ. และไม่มีผู้ใดยอมรับผิดในเหตุที่เกิด ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองตามหลักการสำรองจ่าย

· กรณีบาดเจ็บ บริษัทจะสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จ จำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท ต่อคน แก่ผู้ประสบภัย

· กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะสำรองจ่ายทดแทน/ค่าปลงศพ จำนวน 80,000 บาท ต่อคน แก่ทายาทผู้ประสบภัย

ความรู้ประกันภัยรถ "ประกันรถยนต์ประเภท๒ คืออะไร?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"ประกันรถยนต์ประเภท๒ คืออะไร?"
(เข้าชมทั้งหมด 772 คน)

คราว ก่อนหน้านี้ทนายได้อธิบายถึงประกันภัยชั้น ๑ ไปแล้วว่ากรมธรรม์ดังกลาวคุ้มครองอะไรบ้าง? ทนยเข้าใจว่าทุกท่านคงวจะทราบเพิ่มขึ้นแล้วนะครับ ครั้งนี้ทนายจะได้อธิบายถึงเรื่องความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยประเภท ๒ บ้างครับว่า คุ้มครองถึงเรื่องอะไรบ้างแค่ไหนเพียงใด ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

๑. ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อความบาด เจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 100,000 บาทต่อหนึ่งคน และ 10,000,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

๒. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 200,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง


๓. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft : F&T) หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถคันเอาประกันภัยที่ถูกไฟไหม้และการสูญหาย รวมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหาย รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท)

จำนวนเงินจำกัดความรับผิดสามารถเพิ่มให้สูงกว่าพื้นฐานได้ โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองตามที่ได้ระบุไว้ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์

ข้อมูลจาก บจม.เทเวศน์ประกันภัย

ความรู้ประกันภัยรถ "ประกันภัยประเภท ๓ คืออะไร?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"ประกันภัยประเภท ๓ คืออะไร?"


หลังจากที่ท่านได้ทำความเข้าใจประกันภัยประเภท ๑ และประเภท ๒ ไปแล้วคราวนี้ทนายจะกล่าวถึงประกันภัยประเภท ๓ ให้ท่านได้มีความเข้าใจกันบ้างครับว่ามีสาระและความคุ้มครองอะไรบ้าง หากท่านจะเลือกซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ ทนายจะของกล่าวรายละเอียดของความคุ้มครองดังต่อไปนี้ครับ

๑. ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI) หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อความบาด เจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 100,000 บาทต่อหนึ่งคน และ 10,000,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

๒ ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD) หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจำนวน 200,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง

จำนวน เงินจำกัดความรับผิดสามารถเพิ่มให้สูงกว่าพื้นฐานได้ โดยเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองตามที่ได้ระบุไว้ในพิกัดอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์

ข้อมูลจาก บจม.เทเวศน์ประกันภัย

ความรู้ประกันภัยรถ "อย่างไรจึงจะได้รับความคุ้มครองในกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพ"

ความรู้ประกันภัยรถ

"อย่างไรจึงจะได้รับความคุ้มครองในกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพ"


ผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร ที่จะได้รับจำนวนเงินความคุ้มครอง 80,000 บาท ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้

1.ตาบอด
2.หูหนวก
3.เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
4.สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
5.เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
6.จิตพิการอย่างติดตัว
7.ทุพพลภาพอย่างถาวร

ความรู้ประกันภัยรถ "การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง (๑)"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง (๑)"


การใช้รถที่ประกันภัยไม่คุ้มครอง

การใช้รถนอกอาณาเขตที่คุ้มครอง
การใช้รถยนต์ไปในทางที่ผิดกฏหมาย เช่น ใช้รถยนต์ไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด
การใช้รถในการแข่งขันความเร็ว

ความรู้ประกันภัยรถ "การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง (๒)"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การใช้รถที่ประกันไม่คุ้มครอง (๒)"
(เข้าชมทั้งหมด 741 คน)

ารใช้ในกรณีอื่น ๆ ที่ประกันไม่คุ้มครอง
๑. การใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันไว้กับบริษัทด้วย หรือเป็นรถลากจูงโดยสภาพ หรือรถที่มีระบบห้ามล้อเชื่อมโยงกัน
๒. การใช้รถยนต์ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใในตารางตอนที่เริ่มต้นทำประกันภัย ในขณะเกิดอุบัติเหตุ
๓.การขับรถโดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า ๑๕๐ mg%
๔.การ ขับรถโดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฏหมายหรือใช้ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ไปขับขี่ รถยนต์
การใช้รถที่ตามข้อ ๑,๒,๓ และ ๔ ที่กรมธรรม์ไม่คุ้มครองถึงนั้น จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความประมาทของคนขับรถยนต์คันที่ทำประกันตามกรมธรรม์
แต่ในกรณี ที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ ข้อยกเว้นไม่ได้คุ้มครองตามข้อ ๔ จะไม่นำมาใช้บังคับ หากคนขับรถในขณะเกิดความเสียหาย เป็นคนขับขี่ที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์

ความรู้ประกันภัยรถ "การคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ."

ความรู้ประกันภัยรถ

"การคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ."


ผู้ประสบภัย จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เป็นค่าปลงศพในกรณีเสีย

ชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้

รับคำร้องขอ ค่าเสียหาย ดังกล่าว เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้

· กรณีบาทเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

· กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 15,000

บาท

· กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000

บาท และค่าปลงศพ จำนวน 15,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 30,000 บาท

ความรู้ประกันภัยรถ "การเลือกซื้อความคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่?"

ความรู้ประกันภัยรถ

"การเลือกซื้อความคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่?"
(เข้าชมทั้งหมด 711 คน)

คำสั่งจากผู้บริหารว่า "พนักงานขับรถ"ติดคุกไม่ได้??
ทนาย ได้รับนโยบายจากผู้บริหารว่าพนักงานขับรถที่ขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุจะติด คุก(ห้องขังบนโรงพัก)ไม่ได้ ทนายรับนโยบายแล้วค่อนข้างจะนักอกหนักใจเป็นอย่างมากครับ จะทำอย่างไร? เพื่อที่จะสนองนโยบายของฝ่ายบริการให้ได้ ทนายก็พยามทำงานด้วยความรวดเร็ว หากจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว พนักงานต้อแจ้งเหตุด้วยความรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อทนายจะได้เดินทางไปทำประกันตัวได้ทันเวลา แต่เนื่องจากว่ารถขนส่งวิ่งเหนือ อิสาน ใต้ หากเกิดอุบัติเหตุในระยะทางไกล ๆ จะทำประการใดดีครับ ต่อมาทนายได้ดิตต่อกับบริษัทประกันภัยในหลายๆบริษัท เพื่อให้นำเสนอประกันภัยที่จะต้องคุ้มครองการทำประกันตัวผู้ขับขี่ด้วย ที่ทนายได้สาธยายมานี้ก็เพื่อให้ทุกท่านได้รู้ว่าบริษัทประกันภัยเขาขาย ประกันที่ต้องคุ้มครองในการประกันตัวผู้ขับขี่ด้วยครับ ดังนั้นในคราวต่อไปทนายแนะนำให้ท่านเลือกซื้อการคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับ ขี่ด้วย มิฉะนั้นอาจจะต้องเขาไปพักผ่อนในห้องขังบนโรงพักก็ได้นะครับ
จาก ทนายรถ

การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยที่ใครอยากทำก็ทำ ไม่มีการบังคับกัน การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอา ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย

ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก 3 ประเภทคือ

ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ

* ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

* ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
* ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
* ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง

* ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

* ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
* ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 3 (ชั้น 3) ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกดังนี้

* ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

* ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ไทยอินชัวร์ดาต้าเนท

ไทยอินชัวร์ดาต้าเนท
ประวัติการก่อตั้ง

บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด (TID) เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2535 ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 30 ล้านบาท ถือหุ้นโดยบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) 40% และอีก 60% กระจายการถือหุ้นโดยบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมประกันวินาศภัยจำนวน 50 บริษัท ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่ที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 16 ถ. พระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 ในปัจจุบันเป็นศูนย์ข้อมูลกลางของธุรกิจประกันวินาศภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และภาคสมัครใจ ทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และกลุ่มธุรกิจประกันวินาศภัย รวมไปถึงการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานดังกล่าวด้วย

ประเภทธุรกิจ

บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด เป็นศูนย์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับ (พ.ร.บ.)และภาคสมัครใจ และในปัจจุบันยังเป็นผู้ให้บริการด้าน IT Professional Services ครบ วงจร รองรับความต้องการของหน่วยงานทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจเอกชน ทั่วไป
วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์กลางการให้บริการข้อมูล, สถิติประกันภัยรถยนต์ และบริการด้าน IT ที่เป็นเลิศ แก่กลุ่มธุรกิจประกันวินาศภัย และกลุ่มลูกค้าทั่วไป

พันธกิจ

1. ให้บริการข้อมูล และสถิติประกันภัยที่มีความถูกต้องแม่นยำ แก่กลุ่มธุรกิจประกันภัย
2. เป็นกลไกสนับสนุนการทำธุรกิจประกันภัยที่เป็นกลางสำหรับประกอบการตัดสินใจแก่ธุรกิจประกันภัย และภาครัฐ
3. เป็น ศูนย์กลางบริการ เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และสนับสนุน ข้อมูลความรู้ด้าน IT ด้วยการเป็นพันธมิตรที่ดีของลูกค้าในฐานะผู้ที่ช่วยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหม่ๆ เข้ามาให้ลูกค้าได้ใช้ประโยชน์ในราคาที่ประหยัด และคุ้มค่า ผ่านสินค้าซอฟต์แวร์ และบริการ IT

นโยบายธุรกิจ

“ให้บริการด้านข้อมูล และระบบสารสนเทศ ที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูง ด้วยพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในสินค้าและบริการที่เป็นเลิศ”

คณะกรรมการผู้บริหารของ ทีไอดี
คณะกรรมการบริหารของ ทีไอดี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถและประสบการณ์อย่างยิ่ง ดังนี้
1. คุณจันทรา บูรณฤกษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท
2. คุณชัย โสภณพนิช ประธานคณะกรรมการ
3. คุณสุรชัย ศิริวัลลภ รองประธานคณะกรรมการ
4. คุณอรรณพ พรธิติ กรรมการ
5. คุณเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ กรรมการ
6. คุณสุจินต์ หวั่งหลี กรรมการ
7. คุณประสาน นิลมานัตต์ กรรมการ
8. คุณศราวุธ ภาสุวณิชย์พงศ์ กรรมการ
9. คุณสุชาติ สังข์เกษม กรรมการ
10. คุณชูชัย วชิรบรรจง กรรมการ
11. คุณสมพร สืบถวิลกุล กรรมการ
12. คุณพิษณุวัฒก์ อ้วนสะอาด กรรมการผู้จัดการ

รายชื่อบริษัทผู้ถือหุ้นของทีไอดี

ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท ของทีไอดี ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นกว่า 50 บริษัทประกันภัย ดังนี้

1 นายชัย โสภณพนิช
2 นายชนินทร์ รุนสำราญ
3 นายยืนยง โศภิษฐ์พงศธร
4 นายวรวุธ ตั้งก่อสกุล
5 นายอรรณพ พรธิติ
6 นายสุรชัย ศิริวัลลภ
7 บริษัท กมลประกันภัย จำกัด
8 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
9 บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด
10 บริษัท คุ้มเกล้าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
11 บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
12 บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
13 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
14 บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
15 บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
16 บริษัท บี ที ประกันภัย จำกัด
17 บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
18 บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
19 บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
20 บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
21 บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
22 บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด
23 บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
24 บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
25 บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
26 บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)
27 บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
28 บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
29 บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด
30 บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด
31 บริษัท พาณิชย์การประกันภัย จำกัด
32 บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
33 บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
34 บริษัท มิตซุยมารีนแอนด์ไฟร์ จำกัด
35 บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
36 บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
37 บริษัท รัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด
38 บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
39 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
40 บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
41 บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด
42 บริษัท สยามซิตี้อินชัวรันส์ จำกัด
43 บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด
44 บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด
45 บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด
46 บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
47 บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
48 บริษัท อวีว่า ประกันภัย (ไทย) จำกัด
49 บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด
50 บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
51 บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด
52 บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด
53 บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
54 บริษัท ไอเอจี ประกันภัย จำกัด
55 บริษัท ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย จำกัด
สินค้าและบริการ

บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด (TID) มีสินค้า และบริการทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยให้ บริการกับภาคธุรกิจประกันภัย ภาครัฐ และภาคธุรกิจทั่วไป ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ศูนย์จัดเก็บข้อมูล และ สถิติธุรกิจประกันวินาศภัย (ดำเนินธุรกิจนี้มา 16 ปี)
ข้อมูลประกันภัยรถยนต์เป็นข้อมูลสำคัญของธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่ง TID ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจในการเป็นศูนย์ข้อมูลฯ มายาวนานกว่า 16 ปี ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของธุรกิจในการใช้ตรวจสอบ ข้อมูลประกอบธุรกรรมการรับประกันภัยตลอดมา นอกจากนี้ TID เป็นแห่งแรกที่ได้ออกแบบระบบ Online Data Warehouse สำหรับให้บริษัทประกันภัยต่างใช้ประกอบการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจ ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในธุรกิจประกันภัยภายใต้ระบบ Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย
โดยมีบริการดังนี้

* ศูนย์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
* ศูนย์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
* ศูนย์ข้อมูลประกันภัยเอื้ออาทร
* ศูนย์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับแบบออนไลน์
* บริการดูแลระบบ Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดย TID เป็นผู้ออกแบบระบบเครือข่าย ติดตั้ง และสนับสนุน ซึ่งมีซอฟต์แวร์สำหรับสนับสนุนการใช้งานแก่บริษัทประกันภัยทั้ง 70 บริษัทดังนี้
o ระบบวิเคราะห์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
o ระบบวิเคราะห์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
o ระบบสอบถามข้อมูลความเสียหายรถยนต์
o ระบบ Knock For Knock (โครงการ : ชนแล้วแยก แลกใบเคลม)
o ระบบสอบถามประวัติเคลมรถยนต์ภาคสมัครใจ
o ระบบ Car Price List (สอบถามราคารถ)
o ระบบสอบถามข้อมูลการทำประกันภัยส่วนบุคคลรายเดี่ยว

กลุ่มที่ 2 : จำหน่ายและบริการสนับสนุนซอฟต์แวร์ด้านประกันวินาศภัย
บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด (TID) ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประกันภัยจำหน่ายให้กับกลุ่มบริษัทประกันภัย บริษัทตัวแทนและนายหน้า ปัจจุบันมีลูกค้าซอฟต์แวร์ทั้งสิ้น 8 บริษัท โดยมีสินค้าและบริการดังนี้

* สินค้าสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย
o ซอฟต์แวร์ประกันวินาศภัยสำเร็จรูป ASSIST-2000
o ซอฟต์แวร์นายหน้าประกันภัยรถยนต์สำเร็จรูป MOTOR-POLICY
o ซอฟต์แวร์นายหน้าประกันภัยทางทะเลสำเร็จรูป MARINE-BROKER
o ซอฟต์แวร์ระบบงานขายประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับแบบ Real-Time “Agent to Insurance”
* สินค้าสำหรับตัวแทน/นายหน้า
o ซอฟต์แวร์นายหน้าประกันภัยสำเร็จรูป ASSIST-BROKER
o บริการสนับสนุนระบบซอฟต์แวร์รายปี
o บริการแก้ไข/ปรับปรุงระบบตามความต้องการ
* บริการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

กลุ่มที่ 3 : IT Professional Service
ความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยี IT มาให้ลูกค้าได้ใช้ในราคาประหยัดนั้นเริ่มต้นที่องค์กรของTID เอง เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว TID ได้พัฒนา know-how ที่จะชี้สาเหตุของปัญหาต่างๆ รวมถึงปัญหา performance ของระบบคอมพิวเตอร์ know-how ในเรื่องการเฝ้ามอง (monitor) ระบบ อันเป็นปัจจัยสำคัญของการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูง ด้วยทีมงานวิศวกรระบบที่มีประสบการณ์สูง ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและมีประกาศนียบัตรจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ รับรอง โดยทาง TID มีบริการให้ท่านเลือกใช้ดังนี้

* บริการให้คำปรึกษาและจัดสร้างระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Online Data Warehouse)
* ให้บริการติดตั้งและสนับสนุนการใช้งานระบบสารสนเทศภายในองค์กร ประกอบด้วย Solution ดังนี้
o Operating System & Relational Database Management System Solution
o Network Installation & Support
o Computer Security & Backup System Solution
o Messaging & Collaboration System Solution
o IT Infrastructure Management
* ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทุกประเภท
* ให้บริการจัดอบรมสอนการใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร

กลุ่มที่ 4 : จำหน่ายสินค้า IT (อุปกรณ์ Hardware และ ซอฟต์แวร์)
เราเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์ Hardware เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่อง Server รวมไปถึงซอฟต์แวร์ต่างๆ ดังนี้

* สินค้า Hardware
o อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมในตลาด อาทิเช่น IBM, HP และ Dell เป็นต้น
o อุปกรณ์สำรองข้อมูล ประเภท Tape Drive Backup, Cartridge Tape ยี่ห้อที่ขายได้แก่ IBM และ HP
o อุปกรณ์เครือข่ายประเภท Hub, Switch, Router และ Modem อาทิเช่นยี่ห้อ CISCO, 3COM, Complex, Linksys และ Zyxel เป็นต้น
o อุปกรณ์ สำหรับระบบรักษาความปลอดภัย ประเภท Firewall, IDS, IPS อาทิเช่นยี่ห้อ CISCO, Fortinet, Tripping point, MD5 และ Checkpoint เป็นต้น
o เครื่องพิมพ์ อาทิเช่นยี่ห้อ HP, EPSON และ CANON เป็นต้น
o อุปกรณ์อื่นๆ เช่น PDA, Monitor, Scanner และ Projector เป็นต้น
* สินค้า Software
o Operating System Software เช่น Microsoft และ SCO UNIX เป็นต้น
o RDBMS Software ได้แก่ SQL Server, Oracle, Informix และ BD2
o Firewall และ Antivirus เช่น Checkpoint, Microsoft ISA Server, Symantec Endpoint Protection, McAfee และ Trend Macro เป็นต้น
o Messaging ได้แก่ IBM Domino/Lotus Notes และ Microsoft Exchange
o Software อื่นๆ เช่น Symantec Backup Exec, Citrix และ Adobe เป็นต้น

รายนามลูกค้า

การบริการด้านศูนย์จัดเก็บข้อมูล

* บริษัทประกันภัย ทุกบริษัท (70 บริษัท)

การบริการด้าน Software

* บริษัท เอเชียประกันภัย จำกัด
* บริษัท โอสถสภาประกันภัย จำกัด
* บริษัท นิวอินเดียประกันภัย จำกัด
* บริษัท ไอโออิประกันภัย จำกัด
* บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
* บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด
* บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินชัวรันส์ จำกัด
* บริษัท เฟิร์สเทค โซลูชั่น จำกัด

การบริการด้าน IT Service และจำหน่ายสินค้า IT

* ศูนย์ป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร)
* Solomon Technology Thailand Co., Ltd.
* บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด
* บริษัท จีเคไฟน์เคลม จำกัด
* บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
* Noble Development
* ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
* กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย
* สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
* บริษัท คาซ่าวิลล์ จำกัด
* บริษัท CARRIER (THAILAND) LIMITED
* บริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
* บริษัท คิว.เอช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล

บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด (TID) มีประสบการณ์ 16 ปีในการดำเนินธุรกิจบริหารจัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ และงานประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ปัจจุบันให้บริการจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลประกันภัยรถยนต์ ทั้งธุรกิจประกอบด้วยข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยมีข้อมูลทั้งหมดราว 1.5 Terabyte

การสนับสนุนการใช้งาน TID ให้บริการสอบถามข้อมูลประกันภัยรถยนต์ด้วย Web Application ซึ่งมีบริษัทประกันภัยใช้บริการข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่รองรับทั้งระบบ Remote Access, Lease Line, ISDN ชนิด PRI ซึ่งออกแบบและติดตั้งด้วยทีมงานของ TID เองขณะนี้มีบริษัทประกันภัยราว 70 บริษัทใช้บริการอยู่

ในปี 2550 บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด รับหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดศูนย์ข้อมูลประกันรถยนต์ภาคบังคับแบบ Online จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งปัจจุบัน ทุกบริษัทประกันวินาศภัย ที่จำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ต้องส่งข้อมูลมาที่ศูนย์นี้
ความเชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูล TID มีเจ้าหน้าผู้เชี่ยวชาญในระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งนอกจากการดูแลฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแล และสนับสนุนการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูลของบริษัทประกันภัยที่ใช้งาน ซอฟต์แวร์ประกันภัยอีก 5 บริษัท

สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต

สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต
สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต

เขต 1 446/3 อาคารปาร์ค อเวนิว ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงฝั่งเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร.0-2711-0570-1
รับผิดชอบพื้นที่
คลองเตย บางนา พระโขนง ลาดกระบัง วัฒนา ประเวศ สวนหลวง สะพานสูง บางกะปิ วังทองหลาง ห้วยขวาง ดินแดง ราชเทวี ปทุมวัน
เขต 2 8/8 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2562-0751-4
รับผิดชอบพื้นที่
เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ดอนเมือง สายไหม บางเขน มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม ลาดพร้าว หลักสี่
เขต 3 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก – ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร.0-2476-9940-3
รับผิดชอบพื้นที่
เขตคลองสาน จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ยานนาวา สาธร บางรัก บางคอแหลม
เขต 4 60/78-79 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร.0-2880-8500, 0-2880-7990
รับผิดชอบพื้นที่
เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด บางแค ภาษีเจริญ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน หนองแขม พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์
ต่างจังหวัดติดต่อได้ที่

กรมการขนส่งทางบก

กรมการขนส่งทางบก
วิสัยทัศน์กรมการขนส่งทางบก

พัฒนาและส่งเสริมระบบการขนส่งทางถนนสู่มาตรฐานสากลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
พันธกิจกรม

1 จัดระเบียบ พัฒนา และส่งเสริมการขนส่งและการสัญจรทางถนน ให้มีความปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่น รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน
2 ศึกษาพัฒนา และกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจากรถให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงการส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางถนน และการควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
3 ให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์กรม

1. การให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของประเทศ
2. การให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสาธารณะทางถนนให้ได้มาตรฐานมี ความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง ประหยัด และเชื่อถือได้
3. การส่งเสริมความปลอดภัยและลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม จากการใช้รถใช้ถนน
4. การมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการประชาชนด้านทะเบียนและด้านใบอนุญาต
ขับรถและผู้ประจำรถเพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด
กลยุทธ์กรม

1. การพัฒนาและควบคุมมาตรฐานการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
2. การพัฒนาและควบคุมมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารทางถนน เพื่อส่งเสริมการให้บริการรถสาธารณะ
3. การเสริมสร้างระบบความปลอดภัยในการขนส่งทางถนน
4. การพัฒนางานด้านบริการประชาชน
เป้าประสงค์กรม

1. การดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
2. ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะให้บริการที่มีคุณภาพ
3. จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งทางถนนลดลง
4. ความพึงพอใจของประชาชนที่มาติดต่ออยู่ในระดับที่ดี

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

ข้อมูลทั่วไป
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 วัตถุประสงค์ประการหนึ่งก็คือ การให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและการจ่าย ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่างๆ แก่ผู้ประสบภัยรถ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นนโยบายสาธารณะที่บัญญัติให้รถยนต์ทุกคัน ต้องเอาประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ เจ้าของรถและผู้ประสบภัยบางพื้นที่ยังไม่เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อการให้ บริการของบริษัทประกันวินาศภัย เช่น ไม่มีสาขาในพื้นที่ เป็นต้น ด้วยมูลเหตุดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการกำหนดให้จัดตั้งบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 72 ก. วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2540
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท
1. ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นและการจ่ายค่าสินไหมทด แทนหรือเงินต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้และดำเนินกิจการตามที่บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ ประสบภัยจะได้มอบหมาย
2. ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเฉพาะการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
3. ดำเนินกิจการอื่นตามที่กำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิ
นโยบาย
มุ่งมั่นในการให้บริการผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ด้วยความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นธรรม
Transparency ความโปร่งใส
Accountability ตรวจสอบได้
Responsibility ความรับผิดชอบ
Efficiency มีประสิทธิภาพ
ลักษณะการดำเนินกิจการ
1. ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอ และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่างๆ ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมถึงดำเนินกิจการตามที่บริษัท หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้มอบหมาย
2. ทำหน้าที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- เป็นผู้บริหาร “กองกลางประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคบังคับ” (Compulsory Motorcycle Insurance Pool “CMIP”)
- รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคบังคับผ่าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติ (Thai National Bureau of Insurance)
4. ทำหน้าที่ในการรับคำร้องขอค่าทดแทน และจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร
5. ทำหน้าที่ให้บริการจัดสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยทั่วไป ประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และประกันสุขภาพ
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ เมื่อวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ10 บาท ผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบธุรกิจรับประกันภัยรถ ตาม พ.ร.บ.รวมทั้งสิ้น 69 บริษัท

สมาคมนายหน้าประกันภัย

สมาคมนายหน้าประกันภัย
ประวัติสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
ในปี พ.ศ. 2510 ธุรกิจประกันภัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยได้แบ่งแยกตัวแทน และ นายหน้าออกมาอย่างเด่นชัด จึงทำให้กลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต มีการรวมกลุ่ม กันก่อตั้งสมาคมนายหน้าประกันภัยขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดแรก คือ นายเจนกิจ ตันสกุล ( ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมคนแรก ) ม.ล.สมศักดิ์ กำภู นายสมศักดิ์ ดุรงค์พันธ์ นายอุดม รัมมณีย์ และ นายพัลลภ อิศรางกูร จากวันนั้นซึ่งสมาคมฯ มีสมาชิกเพียง 12 บริษัท ก็ได้เจริญเติบโตขึ้นมาจนมีสมาชิก 51 บริษัทในปัจจุบัน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า “สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย”
ที่ตั้ง
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย 55/37 ซอยร่วมใจ ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร. / Tel 662 249 6679 แฟกซ์ / Fax 662 249 6619
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
เวบไซต์หลัก
รายชื่อสมาชิก

สมาคมอู่กลางการประกันภัย

สมาคมอู่กลางการประกันภัย

ประวัติความเป็นมา “สมาคมอู่กลางการประกันภัย”

สมาคมอู่กลางการประกันภัย ก่อกำเนิดจาก ผอ.กองวินาศภัย กรมการประกันภัย(สมัยนั้น) ร่วมกับสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย โดยคุณประสิทธิ์ ลิขิตวิบูลย์ นายกสมาคมสหมิตรการ-ซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของ บริษัท อู่ประสิทธิ์ยนต์ (1993) จำกัด) ได้ร่วมปรึกษาหารือและได้มีความเห็นพ้องต้องกันในการก่อตั้ง “อู่กลางฯ” ที่มีราคาซ่อมมาตรฐานและเป็นธรรม เพื่อขจัดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคา ระหว่างบริษัทประกันภัย, ผู้เอาประกันภัย, อู่ซ่อมรถยนต์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์ให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้น

*
พ.ศ. 2528 นายประสิทธิ์ ลิขิตวิบูลย์ นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของบริษัท อู่ประสิทธิ์ยนต์ (1993) จำกัด) ได้ขอความร่วมมือกับอู่สมาชิกสมาคมสหมิตรฯ ในการร่วมตีราคาค่าซ่อมรถยนต์ให้เป็นธรรม ตามที่ได้รับการร้องขอจากกรมการประกันภัย ในการเกิดข้อโต้แย้งกรณีพิพาทของประชาชนและบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นการแบ่งเบาข้อร้องเรียนที่มีไปยังกรมการประกันภัย
*
พ.ศ. 2539 นายไพสิฐ เลิศธีรพงศ์ นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของบริษัท รุ่งเรืองออโต้ไฮเทค จำกัด) และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ร่วมกับอธิบดีกรมการ-ประกันภัยในสมัยนั้น ได้หยิบยกการก่อตั้งอู่กลางฯ มาพิจารณา และเห็นว่าหน้าที่ในการตีราคาค่าซ่อมกรณีพิพาท มิใช่วัตถุประสงค์หลักของวิชาชีพการซ่อมรถยนต์เท่านั้น หากแต่เมื่อข้อพิพาทยุติ ประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมจากการซ่อมรถยนต์ด้วย จึงเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรมีอู่ซ่อมรถยนต์ที่เป็น “อู่กลางของกรมการประกันภัย” ในการตีราคาค่าซ่อมรถยนต์และรับซ่อมรถยนต์ การรวบรวมสมาชิกอู่กลางของกรมการประกันภัย พ.ศ. 2541-2546 มีจำนวนสมาชิก749 อู่ทั่วประเทศ นับเป็นความร่วมมือและความอุตสาหะยิ่ง ในอันที่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นธรรมแก่ประชาชน
*
พ.ศ. 2543 จากการประชุมร่วม “ไตรภาคี” ประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (คณะจัดตั้งอู่กลางกรมการประกันภัย), สมาคมประกันวินาศภัย และกรมการ-ประกันภัย ได้ร่วมกันพิจารณา “ราคากลาง” และให้ อู่กลางกรมการประกันภัย เป็นผู้ใช้ราคากลางในการซ่อมรถยนต์ที่เกิดกรณีพิพาทนั้น เพื่อความเป็นธรรมและมีมาตรฐาน พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้ “ราคากลาง ปี 43” สำหรับเกิดข้อกรณีพิพาทระหว่างผู้เอาประกันหรือคู่กรณีกับบริษัทประกันภัยรถ ยนต์ ต่อมากรมการประกันภัย โดยความร่วมมือจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมแรงงาน, สมาคมประกันวินาศภัย และสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันพิจารณากำหนดราคากลางและคุณสมบัติของอู่กลาง โดยคัดเลือกจากอู่ซ่อมรถยนต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด แต่งตั้งให้เป็น“อู่กลางกรมการประกันภัย” ไว้เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้บริโภค
*
พ.ศ. 2546 อธิบดีกรมการประกันภัย เห็นว่า อู่กลางกรมการประกันภัย มีศักยภาพและมีสมาชิกฯ ทั่วประเทศมากพอ ที่จะให้บริการแก่ประชาชนผู้บริโภคและบริษัทประกันภัย อธิบดีกรมการประกันภัย จึงให้”อู่กลางกรมการประกันภัย” เปลี่ยนชื่อและจัดตั้งเป็น “สมาคมอู่กลางการประกันภัย” เมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2546 โดยมีนายไพสิฐ เลิศธีรพงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอู่กลางการ-ประกันภัยท่านแรก และได้รับการสนับสนุนจาก กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
*
พ.ศ. 2547 นายสัญชัย งามพรสุขสวัสดิ์ นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท ธนบุรี ออโต้คาร์ จำกัด) และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ร่วมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่สนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพอู่ซ่อมรถยนต์ ของสมาชิกฯ ให้มีมาตรฐานการซ่อม รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตลอดจนบุคลากรที่มีความชำนาญ ผ่านการทดสอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงเกิด“อู่กลางยุคใหม่” ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นประธานคณะฯ มีจำนวนสมาชิกที่ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบมาตรฐานอู่กลางการประกันภัย369 อู่ทั่วประเทศ ได้ริเริ่มนโยบายประชาสัมพันธ์สมาคมอู่กลางฯ ให้รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และประชาชนผู้บริโภค
*
พ.ศ. 2548 นายศุภกร ศรีอัษฎาวุธกุล รักษาการนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท เขียว ออโต้ การาจ จำกัด ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการจัดตั้งและเป็นอู่กลางฯ ยุคแรก) พร้อมทั้งคณะกรรมการบริหารฯ รักษาการ ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้บริโภคและอู่ซ่อมรถยนต์ ในเรื่องราคาค่าซ่อมที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นของสินค้า เช่น สี และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบและพิจารณาเรื่องราคาที่ถูกต้อง และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายตามความเป็นจริง โดยคำนึงถึงราคาวัสดุที่ปรับตัว ณ ปัจจุบันและมีมติเห็นพ้องต้องกัน ในการปรับ “ราคากลาง ปี 49” โดยอ้างอิงจากราคาซ่อม อู่กลางกรมการประกันภัย (พ.ศ. 2543) เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
*
พ.ศ. 2549 นายสมชาย ปึงปิติกุล รักษาการนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ ศูนย์ซ่อมสมชายคาร์เซ็นเตอร์) และคณะกรรมการบริหารฯ ชุดรักษาการ มีมติเห็นพ้องต้องกันในการจัดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อคัดสรรนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯเพื่อบริหารงานองค์กรต่อไป
*
พ.ศ. 2550 นายอนุรักษ์ กำธรเจริญรุ่ง นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท อนุรักษ์ ออโต้รีแพร์ เซ็นเตอร์ จำกัด) ได้สืบสานนโยบาย-วิสัยทัศน์-พันธกิจ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมอู่กลางฯ ทั้งในด้านมาตรฐานและความเป็นธรรม สืบสานนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ร่วมประชุมกับภาครัฐ เพื่อรับทราบนโยบายด้านต่างๆ ขณะเดียวกันมีนโนบายด้านสังคมและสาธารณกุศลเท่าที่ดำเนินการได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ ให้องค์กรเป็นที่รู้จักมากขึ้น และสมาชิกสมาคมอู่กลางฯ ทุกๆ ท่านมีบทบาทในการร่วมบริหารองค์กร

สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย

สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
ประวัติสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย

สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2518 มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แห่งประเทศไทย 36/1 ซ.สะพานคู่ ถ.พระราม 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้


วัตถุประสงค์


กำหนด ส่งเสริม และ รักษามาตรฐานของวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้อยู่ในมาตรฐานสูงสุด


กำหนด และรักษามาตรฐานทางด้านจริยธรรมทางวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย


ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และ วิชาการ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น การประกันชีวิต การประกันวินาศภัย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การลงทุน สถิติ
บำนาญ และสวัสดิการพนักงาน


ช่วยเหลือ หรือ ให้ข้อเสนอแนะและความเห็นทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และ วิชาชีพอื่น
ที่เกี่ยวข้องแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไปและองค์กร สถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน


เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ระหว่างสมาชิก


ประสานงานและส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง และการพัฒนาวิชาชีพให้กับสมาชิก


ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์และสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิก


ประสานงานกับองค์กร สถาบัน การศึกษา และอื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศอันเกี่ยวข้องกับ
พันธกิจของสมาคม


ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สมาคมประกันวินาศภัย

สมาคมประกันวินาศภัย
ประวัติสมาคมประกันวินาศภัย

ประวัติความเป็นมาก่อนที่จะมีการก่อตั้ง "สมาคมประกันวินาศภัย" ขึ้นนั้นได้มีบริษัทได้ รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันภัยอยู่แล้วหลายบริษัทโดยอยู่ภายใต้ข้อ กำหนดของ พระราชบัญญัติควบคุมกิจการการค้าขายอันกระทบถึงความปลดภัยและความผาสุกแห่ง สาธารณชนพุทธศักราช 2471 บริษัทที่ประกอบกิจการประกันภัยในระยะนั้นแบ่งออกได้ เป็น 3กลุ่มคือบริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันภัยในยุโรปบริษัทประกันภัยจีนและ บริษัทประกันภัยไทยบริษัทเหล่านั้นจะรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมในกลุ่มของตน โดยกลุ่มแรก เป็นสมาคมและขึ้นอยู่กับบริษัทแม่ในสหราชอาณาจักรส่วนอีก 2 กลุ่มเป็นสมาคมที่จด ทะเบียนในประเทศไทยคือสมาคมประกันภัยจีนแห่งประเทศไทยได้รับอนุญาตให้จด ทะเบียนเป็นสมาคมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2460 และสมาคมประกันภัยแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียน เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2485
ต่อมาทางราชการได้ประกาศพระราชบัญญัติสมาคมการค้าพุทธศักราช 2509 ขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2509 สมาคมประกันภัยทั้ง 3 สมาคมในขณะนั้นจึงได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษ ขึ้นเพื่อพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเห็นสมควร ให้รวม 3 สมาคมเป็นสมาคมเดียวและมอบให้นายกสมาคมทั้ง 3 ร่วมกันเป็นตัวแทนไปขอจด ทะเบียนใหม่ในชื่อ "สมาคมประกันวินาศภัย"ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2510 และที่ประชุมได้มีมติเลือกนายวัยวรรธนะกูลเป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมประกันวินาศภัยมีสมาชิกซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการ ประกันวินาศภัย รวมทั้งสิ้น 71 บริษัท

วัตถุประสงค์ของสมาคมประกันวินาศภัย
1 ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจอันเกี่ยวกับการประกันภัย
2 สนับ สนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆรวมทั้งเจรจาทำความตกลง กับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจที่อยู่ในวัตถุ ประสงค์
3 ทำการวิจัยให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุประสงค์
4 ส่งเสริมความร่วมมือความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก
5 ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก
6 ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการของสมาชิกและสมาคมฯ
7 วางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติเพื่อให้การประกอบวิสาหกิจเกี่ยวกับการประกันภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
8 สมาคมการค้านี้ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการในทางการเมือง
9 สอด ส่องติดตามความเคลื่อนไหวของกิจการประกันภัยทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อ ให้เป็นประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจประกันภัยและเศรษฐกิจของประเทศ
10 ให้การศึกษาแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารอันเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย
11 ทำสถิติหรือเอกสารรวมทั้งวิจัยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจประกันภัย
12 ร่วม มือกับรัฐบาลในการส่งเสริมประกอบธุรกิจประกันภัยและกำหนดระเบียบการต่างๆให้ สมาชิกถือปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติเพื่อให้การประกอบธุรกิจประกันภัย ดำเนินการไปโดยเรียบร้อย
13 เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันภัยต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหรือสถาบันอื่นๆ
14 จัดตั้งสโมสรและอื่นๆที่เกี่ยวกับการสวัสดิการสมาชิกตามระเบียบการซึ่งคณะกรรมการบริหารจะได้กำหนด

สมาคม ประกันวินาศภัยมีคณะกรรมการจำนวน 21 คนทำหน้าที่บริหารงานของสมาคมฯ กรรมการของสมาคมฯได้แก่ ผู้แทนของบริษัทภาคีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งในการประชุมใหญ่ ประจำปีแต่ละปีและมีวาระคราวละ 2 ปีนอกจากคณะกรรมการแล้วยังมีคณะอนุกรรมการอีก 6 คณะคือ
1 คณะอนุกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน
2 คณะอนุกรรมการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
3 คณะอนุกรรมการประกันภัยรถยนต์
4 คณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด
5 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการประกันภัย
6 คณะอนุกรรมการประกันภัยสัมพันธ์

คณะ อนุกรรมการแต่ละคณะประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ 1 คนและอนุกรรมการอีก 10 คนมีหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านต่างๆตามที่กำหนดไว้ในแต่ละคณะตลอดเวลา กว่า 30 ปีที่ผ่านมาสมาคมประกันวินาศภัยโดยคณะอนุกรรมการทุกคณะได้มีผลงานอันเป็น ประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัยและสังคมส่วนรวมเป็นอันมากทั้งในด้านวิชาการด้าน กิจกรรม ตลอดจนการร่วมมือกับหน่วยงานราชการต่างๆ
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
เวบไซต์หลัก
ข้อมูลการวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทประกันวินาศภัย ประจำปี 2549
สถิติจากหลายหน่วยงานถึง ปี พ.ศ.2550

สถาบันประกันภัยไทย

สถาบันประกันภัยไทย
ประวัติสถาบันประกันภัยไทย

สถาบันประกันภัยไทย ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของสมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตไทย และกรมการประกันภัย โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้างสถาบันการศึกษาด้านการประกันภัยขึ้น เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยทุกประเภท ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพประกันภัย โดยทำการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้บริการประกัน ภัย

สถาบันประกันภัยไทยได้ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาวิชาการประกันภัยในต่างประเทศ เช่น ด้านประกันวินาศภัยได้แก่ สถาบัน CII (Chartered Insurance Institute) ประเทศอังกฤษ, ANZIIF (Australian and New Zealand Institute of Insurance and Finance) ประเทศออสเตรเลีย, MII (Malaysian Insurance Institute) ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น และด้านประกันชีวิตได้แก่ LIMRA (Life Insurance Marketing and Research Association, LUTC (Life Underwriter Training Council) ของ The American College เป็นต้น

สถาบันประกันภัยไทย เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2523 โดยในขณะนั้นสถาบันทำหน้าที่ประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรของต่างประเทศที่มีความ ร่วมมือกันกับสถาบันประกันภัยไทยดังที่กล่าวข้างต้น

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2530 คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นสมควรให้ดำเนินการจดทะเบียนสถาบันเป็นนิติบุคคล ในรูปบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2531 กำหนดทุนจดทะเบียน ไว้ที่ 1.5 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ “บริษัท ที.ไอ.ไอ. จำกัด” ซึ่งเป็นชื่อย่อจากชื่อภาษาอังกฤษของสถาบันประกันภัยไทย (Thailand Insurance Institute) โดยมีคณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นทำหน้าที่บริหารงาน จำนวน 15 คน มี นายชลอ เฟื่องอารมย์ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัย (กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์) ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคนแรกของสถาบัน และคณะกรรมการได้แต่งตั้ง นายอาทร ติตติรานนท์ เป็นผู้อำนวยการสถาบันประกันภัยไทย

ในปี พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้นของบริษัท ภายใต้การบริหารงานของ นายนรวัฒน์ สุวรรณ (อดีตอธิบดีกรมการประกันภัย) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันในสมัยนั้น ได้มีความเห็นชอบในนโยบายเพิ่มทุนของบริษัทจากเดิม 1.5 ล้านบาท เป็น 21.5 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สถาบันฯ สามารถพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น โดยสถาบันได้ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมประกันภัยเรื่อยมา เป็นเวลานานถึง 18 ปี ปัจจุบัน อาจารย์ทินวัฒน์ ศุภผลศิริ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันประกันภัยไทย

หลักสูตรที่สถาบันประกันภัยไทยเปิดสอนในปัจจุบัน

ในการดำเนินการที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้มุ่งเน้นการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่อยู่ในภาคประกันวินาศภัย โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรการประกันวินาศภัยที่หลากหลาย มีผู้สำเร็จการศึกษาได้รับคุณวุฒิ ATII (TII Associateship) จำนวน 639 คน และในปี พ.ศ. 2545 สถาบันฯ ได้จัดให้มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรที่อยู่ในภาคประกันชีวิต เพิ่มขึ้น โดยได้ร่วมมือกับ The American College ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการประกันชีวิตและการเงินที่มีชื่อเสียงของ ประเทศอเมริกา โดยนำหลักสูตร LUTC (Life Underwriter Training Council) มาดำเนินการเรียนการสอนให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาได้รับคุณวุฒิ LUTCF (LUTC Fellow) แล้วจำนวน 675 คน

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 สถาบันประกันภัยไทย ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านการประกันภัยชั้นนำจากต่างประเทศ อาทิ ANZIIF ประเทศออสเตรเลีย TAC และ LIMRA จากประเทศสหรัฐอเมริกา นำหลักสูตรการเรียนการสอนอื่นๆ อาทิ CLU (Chartered Life Underwriter), FSS (Financial Services Specialist), หลักสูตรประกันวินาศภัยของ ANZIIF และหลักสูตรประกันชีวิตของ LIMRA มาใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีความพร้อมที่จะรับมือกับ การเปิดเสรีทางการค้ามากยิ่งขึ้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 ให้ความคุ้มครอง...

-------------------2.1 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
-------------------2.2 ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
-------------------2.3 ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

1 กรมธรรม์ประเภทที่ 1(ประกันภัยรถยนต์ชั้น1) ให้ความคุ้มครองมากที่สุด คือ

-------------------คุ้มครองบุคคลภายนอกหรือทรัพย์สินคันเอาประกัน
-------------------1.1 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
-------------------1.2 ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
-------------------1.3 ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
-------------------1.4 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

-------------------คุ้มครองผู้ขับขี่กรณีซื้อความคุ้มครองเพิ่ม
-------------------1. ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
-------------------2. ประกันภัยค่ารักษาพยาบาล
-------------------3. ประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

1. วัตถุประสงค์

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดให้รถทุกประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อ ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเพราะเหตุประสบภัยจากรถให้ได้รับการแก้ไขเยียวยา โดยให้ได้รับค่าเสียหายเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีได้ รับอันตรายแก่กายหรืออนามัยหรือให้ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพและค่า ใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิตโดยเร็วที่สุด หลังจากที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด พร้อมทั้งให้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนพอสมควรหลังจากที่มีการ พิสูจน์ ความรับผิดแล้ว
2. เพื่อเป็นหลัก ประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทุกแห่งว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและ ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอนและรวดเร็ว เมื่อได้รับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษาตัว
3. เพื่อ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งเบา ภาระค่าเสียหาย ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว
4. เพื่อให้การประกันภัยเข้ามาช่วยร่วมในการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัยจากรถ1



2. การบังคับใช้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 เป็นต้นไป โดยกำหนดบทเฉพาะกาลให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องดำเนินการจัดให้มีประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้ ประสบภัยจากรถให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ (สิ้นสุด 1 ตุลาคม 2536) มิฉะนั้นจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของเจ้าของรถบางประเภท (เช่น รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 5 เมษายน 2536 รถสกายแลป (รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์) และรถอีแต๋น) ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ประกอบกับความไม่พร้อมของบริษัทประกันภัย ที่จะให้บริการและไม่อาจรองรับต่อปริมาณของรถที่จะมาทำประกันภัย จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2536) และฉบับที่ 10 (พ.ศ.2538) เพื่อผ่อนผันการจัดทำประกันภัย ภาคบังคับตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งขณะนี้พ้นระยะเวลาผ่อนผันทั้งหมดแล้ว ดังนั้น ในปัจจุบันรถทุกคันทุกชนิดและทุกประเภทจะต้องจัดให้มีการทำประกันภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัตินี้ มิฉะนั้นจะมีความผิดได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด

3. ขอบเขตความคุ้มครอง
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินถนน และไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในรถหรือนอกรถ หรือแม้แต่คนที่กำลังนอนอยู่ที่บ้าน หากปรากฏว่า บุคคลดังกล่าวนั้นได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยหรือได้รับอันตราย ถึงแก่ชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถที่ใช้หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือ ติดตั้งในรถนั้น โดยไม่คำนึงว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ จะได้รับความคุ้มครองในทันทีที่ประสบภัยจากรถ โดยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบภัยได้รับอันตรายแก่กายหรืออนามัย หรือเพื่อเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณี เสียชีวิต นอกจากนั้นยังได้รับค่าทดแทนในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ตลอดจนมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นเป็นจำนวนเงินพอสมควรตามวงเงิน คุ้มครอง ที่กฎหมายกำหนดไว้หลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว
2. การ ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยตามพระราชบัญญัตินี้คลุมถึงกรณีผู้ขับขี่รถคัน ที่เอาประกันภัยซึ่งมิใช่ผู้เอาประกันภัย ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ขับขี่รถโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย เช่น สมชายยืมรถของสมโชค ซึ่งทำประกันภัยไว้กับบริษัท และเกิดอุบัติเหตุชนสมหญิงได้รับอันตรายสาหัส กรณีนี้บริษัทรับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่สมหญิงเต็ม ตามจำนวนคุ้มครอง จะปฏิเสธความรับผิดว่ามิได้เกิดจากความประมาทของผู้เอาประกันภัยไม่ได้
3. การ ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ยังคุ้มครองไปถึงความรับผิดของผู้โดยสาร ในรถคันที่เอาประกันภัยด้วย เช่น แดง ขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้ โดยมีขาวและเขียวนั่งโดยสารไปด้วย ขณะแดงจอดรถไว้ข้างถนน เขียวซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังเปิดประตูโดยมิได้ระมัดระวัง ทำให้ดำซึ่งขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังมาพุ่งชนเสียหลักล้มลง ดำถึงแก่ความตาย เมื่อเขียวผู้โดยสารเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายแล้ว บริษัท ในฐานะผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทของดำ ในนามเขียว จะปฏิเสธความรับผิดอ้างว่ามิใช่เป็นการกระทำของผู้เอาประกันภัยไม่ได้2
4. คณะกรรมการและหน่วยงานตามกฎหมาย
1. คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมตำรวจ ผู้ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนสมาคมนายหน้าประกันภัย ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัย ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ผู้แทนแพทยสภาและ ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นกรรมการและผู้ ช่วยเลขานุการ

หมายเหตุ ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติสอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545 มาตรา 48 ได้แก้ไขคำว่า “ผู้แทนกรมการปกครอง” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็น “ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย”

ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงต่าง ๆ
2. กำหนด มาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทหรือกองทุนต้องจ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย
3. พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับ การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและหรือเงินอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือเกี่ยว กับรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลตามที่นายทะเบียนขอความเห็นหรือตามที่ประสบภัยร้องขอ
4. ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
2. สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 33 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา กองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากที่ใดได้ โดยผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ในกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือเรียกร้องจากสำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

ผู้ ประสบภัยจากรถหรือทายาทจะสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนัก งานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 22 คือ

1. เจ้า ของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้ทำประกันภัยไว้ และไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน
2. ขณะ เกิดเหตุ รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถเพราะรถ นั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ไว้กับพนักงานสอบสวนแล้ว ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัท ประกันภัยหรือเจ้าของรถจะไม่ต้องรับผิด
3. ไม่ มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และรถไม่มีการประกันภัยกับบริษัท เช่น ขับรถชนแล้วทิ้งรถไว้ในที่เกิดเหตุ คนขับหลบหนีไป และไม่มีใครแสดงตนว่าเป็นเจ้าของรถและรถคันนั้นไม่มีการประกันภัยไว้กับ บริษัท
4. มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ ประสบภัย และรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นหลบหนีไปหรือ ไม่อาจทราบได้ว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย
5. บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่ครบจำนวน
6. ความ เสียหายเกิดจากรถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำประกันตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น รถสำหรับเฉพาะองค์ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท รถของสำนักพระราชวัง รถของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รถยนต์ทหาร ฯลฯ

ข้อสังเกต การ ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะขอรับได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะไม่มีสิทธิขอรับค่าเสียหายในส่วนที่เกินกว่าค่าเสีย หายเบื้องต้นเหมือนกับกรณีขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 3

3. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มาตรา 10 ทวิ กำหนดให้มีการจัดตั้ง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ขึ้น ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและจ่าย ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่บริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมอบหมาย ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากบริษัทประกันภัยรถคันที่เกิด เหตุได้ ให้สามารถเรียกร้องค่าเสียหายผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้

นอกจากนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ยังได้รับทำประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ขณะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้เปิดดำเนินการเพื่อให้บริการครอบคลุมครบทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครแล้ว

5. ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้อง
1. ผู้ประสบภัยหรือบุคคลทั่วไปเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่อ อุบัติเหตุจากรถเกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือผู้พบเห็นอุบัติเหตุจากรถทุกคันควร ปฏิบัติ ดังนี้

1. ใน กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และอย่าลืมแจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าเป็นผู้ได้รับบาด เจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ
2. ให้ตรวจดู เครื่องหมายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ที่กระจกหน้ารถด้วยว่ารถคันที่เกิดเหตุได้ ทำประกันไว้หรือไม่ ถ้าทำประกันภัยไว้ได้ทำไว้กับบริษัทอะไร กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เพื่อที่จะได้แจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัทประกันภัยได้อย่างถูกต้อง
3. แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้ตำรวจทราบและขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจเก็บไว้
4. ให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ
5. แจ้ง ให้บริษัททราบถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ แต่ถ้าหากไม่มีบริษัทประกันภัยในพื้นที่ ให้แจ้งเหตุไปที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด
6. ติดต่อขอรับค่าเสีย หายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือมอบอำนาจให้ทายาทโดยธรรมหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลยื่นคำร้องขอรับค่า เสียหายเบื้องต้นแทนก็ได้ โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการ เป็นต้น
7. กรณี ไม่สามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่เฉี่ยวชนได้ ให้ผู้บาดเจ็บนำเอกสารคือ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนารายงานประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน ไปติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ หรือที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต ในกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
8. กรณี ไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่สามารถติดต่อบริษัทประกันภัยได้ เนื่องจากบริษัท ไม่มีสาขาอยู่ในต่างจังหวัด สามารถติดต่อผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัดให้เป็นผู้ประสานงานให้
2. สถานพยาบาลเมื่อรับผู้ประสบภัยจากรถ

โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ให้การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดและอย่างดีที่สุด
2. ทำประวัติคนไข้ และขอสำเนาบัตรประจำตัวผู้ประสบภัย
3. ขอสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ
4. บันทึก ชื่อบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยไว้ และถ้าอุบัติเหตุเกิดจากรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปชนกัน ก็บันทึกชื่อบริษัทประกันภัยทุกบริษัท พร้อมทั้งขอถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยไว้ด้วย
5. บันทึกชื่อ ที่อยู่ ผู้นำคนเจ็บส่งเข้ารับการรักษา
3. ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่เมื่อประสบภัยจากรถ
1. แจ้ง ให้บริษัทรับประกันภัยทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้เพื่อบริษัทจะได้เข้าไปดูแลและรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้เอา ประกันภัยและบริษัท
2. ส่งให้บริษัททันที เมื่อได้รับหมายศาล หรือคำสั่ง หรือคำบังคับของศาล ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนพิจารณาความมักจะกำหนดเวลาในการดำเนินคดีไว้ เช่น เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกฟ้อง จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ศาลอาจสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ทำให้ไม่มีประเด็นจะต่อสู้ อาจแพ้คดีได้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจึงต้องส่งหมายศาล หรือคำสั่งศาลหรือคำบังคับให้แก่บริษัท โดยเร็ว เพื่อที่บริษัทจะได้หาแนวทางต่อสู้คดีได้ทันการณ์

แต่ ถึงแม้ผู้เอาประกันภัยจะมิได้ปฏิบัติดังกล่าว ก็ไม่ทำให้บริษัทพ้นความรับผิด เพียงแต่บริษัทมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่มิได้ปฏิบัติดังกล่าว นี้เท่านั้น โดยเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสียหายจะเกิดแก่บริษัทก็ตาม ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าตนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ได้

3. มี หนังสือบอกกล่าวให้บริษัททราบทันทีเมื่อมีการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาทาง ศาลอันอาจทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้ ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามข้อนี้ บริษัทอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการนั้น เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้
4. ผู้ เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทประกันภัย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย และบริษัทไม่จัดการต่อการเรียกร้องนั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงยินยอมรับผิดโดยรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ ซึ่งอาจมีผลเสียหายต่อ ผู้เอาประกันเองได้ ถ้าหากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นความผิดของผู้เอาประกันภัย

แต่ ถ้าเป็นความผิดของผู้เอาประกันภัยแล้ว แม้ผู้เอาประกันภัยจะไปตกลงว่าจะชดใช้ค่าเสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอม จากบริษัทก็ตาม บริษัทก็ไม่สามารถยกเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้ เพียงแต่บริษัทไม่ผูกพันรับผิดตามจำนวนที่ผู้เอาประกันไปตกลงไว้ คงรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น เช่น แดงขับรถชนขาวได้รับบาดเจ็บ และแดงเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย แดงตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้ขาวจำนวน 50,000 บาท โดยไม่รับความยินยอมจากบริษัท โดยความเสียหายที่แท้จริงมีเพียง 30,000 บาท ดังนี้ บริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เพียงแต่ไม่ต้องรับผิดจำนวน 50,000 บาท คงรับผิดเพียง 30,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินอีก 20,000 บาท ขาวจะต้องไปเรียกร้องเอาจากแดงเอง

5. เมื่อ มีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยมิได้แจ้งความก็ไม่เป็นเหตุให้บริษัทปฏิเสธความรับผิด ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่ามีความเสียหายที่อาจเรียกร้องจากบริษัทได้ตาม สัญญานี้จริง4



6. การชดใช้ค่าเสียหาย
1. บริษัท ประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ ผู้ประสบภัยหรือทายาทภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทร้องขอต่อบริษัทโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ ความถูกผิดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
2. ใน กรณีที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายให้ไม่ครบ ให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณียื่นคำร้องขอรับ ค่าเสียหายเบื้องต้นตามแบบฟอร์มของทางราชการ ต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.สนามบินน้ำ – นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี และส่วนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต เขต 1 พระโขนง เขต 2 บางเขน เขต 3 ธนบุรี เขต 4 ตลิ่งชัน สำหรับต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
3. ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายจะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
4. ผู้ ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครองตาม กฎหมายนี้ได้จากผู้กระทำละเมิดและผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย
5. ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันนั้นจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ ประสบภัยที่อยู่ในรถคันที่เอาประกันกับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นผู้ที่อยู่นอกรถ (อาจเดินอยู่บนถนน หรือในบ้าน ฯลฯ) ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถที่ก่อเหตุแต่ละคันนั้นร่วมกันจ่ายค่าเสียหาย เบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทุกคนโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน
6. ใน กรณีที่บริษัท หรือเจ้าของรถ บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนดความคุ้มครอง (ก่อนวันสิ้นสุดอายุสัญญา) ไม่ว่าด้วยเหตุใด บริษัทต้องแจ้งบอกการเลิกนั้นให้นายทะเบียนทราบและเจ้าของรถต้องส่งคืน เครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงว่ามีการประกันภัยให้แก่นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัย หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย) หรือทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ต่อไปไม่ได้ 5



7. บทกำหนดโทษ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้กำหนดโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไว้หลายกรณี อาทิ

1. เจ้า ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 37)
2. ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 39)
3. เจ้า ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถ หรือผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ ผู้ใดไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 40)
4. ผู้ ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐาน อันเป็นเท็จ เพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 45)
5. ผู้ใด ปลอมเครื่องหมายที่ระบุว่าได้มีการประกันภัยแล้ว หรือนำเครื่องหมายปลอมมาติด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 41)
6. บริษัท ประกันวินาศภัยใด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถ ฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 250,000 บาท (มาตรา 38)

บรรดา ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้นายทะเบียน (อธิบดีกรมการประกันภัยหรือผู้ที่อธิบดีกรมการประกันภัยมอบหมาย) มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และเมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วัน ให้ถือว่าคดีเลิกกัน



8. หน่วยงานให้คำปรึกษา
1. กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

44/100 ถนนสนามบินน้ำ – นนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โทร.0-2547-4500-3

2. สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต

เขต 1

446/3 อาคารปาร์ค อเวนิว ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงฝั่งเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร.0-2711-0570-1

รับผิดชอบพื้นที่

คลองเตย บางนา พระโขนง ลาดกระบัง วัฒนา ประเวศ สวนหลวง สะพานสูง บางกะปิ วังทองหลาง ห้วยขวาง ดินแดง ราชเทวี ปทุมวัน

เขต 2

8/8 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2562-0751-4

รับผิดชอบพื้นที่

เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ดอนเมือง สายไหม บางเขน มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม ลาดพร้าว หลักสี่

เขต 3

287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก – ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร.0-2476-9940-3

รับผิดชอบพื้นที่

เขตคลองสาน จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ยานนาวา สาธร บางรัก บางคอแหลม

เขต 4

60/78-79 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร.0-2880-8500, 0-2880-7990

รับผิดชอบพื้นที่

เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด บางแค ภาษีเจริญ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน หนองแขม พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์

3. สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด 6

ประกันภัยไม่เต็มปี บอกเลิกกรมธรรม์ เงื่อนไขอื่นๆ

11. เงื่อนไขอื่นๆ

11.1 การชำระเบี้ยประกันภัย
ห้ามรับชำระเบี้ยประกันภัยเป็นงวด ๆ

11.2 การหยุดใช้รถยนต์
ผู้เอาประกันภัยอาจแจ้งการหยุดใช้รถยนต์เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืน จากบริษัทได้โดยเงื่อนไข ดังนี้

* ต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อขอหยุดการใช้รถยนต์ การคืนเบี้ยประกันภัยให้เฉลี่ยเป็นรายวัน
* ห้ามคืนเบี้ยประกันภัยในการหยุดการใช้รถยนต์ในกรณีดังต่อไปนี้ :-
1.ระหว่างทำการซ่อมแซม
2.หยุดการใช้รถยนต์น้อยกว่า 30 วัน

11.3 การเปลี่ยนรถยนต์
การเอารถยนต์คันอื่นมาเปลี่ยนแทนรถยนต์คันเอาประกันภัย หากเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นหรือลดลงต้องคิดเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงเฉลี่ยรายวัน
11.4 การบอกเลิกกรมธรรม์

ผู้เอาประกันภัยและบริษัทสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ได้ ดังต่อไปนี้

* บริษัท จะบอกเลิกกรมธรรม์ฯนี้ได้ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัยตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้ง ให้บริษัททราบ ในกรณีนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยหักเบี้ยประกัน ภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน
* ผู้ เอาประกันภัยจะบอกเลิกกรมธรรม์นี้ได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรและมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ตามอัตราการคืนเบี้ยประกันภัยที่ระบุไว้

3. กรณีที่เป็นการประกันภัยกลุ่มและมีการลดจำนวนรถยนต์ ให้คืนเบี้ยประกันภัยเฉลี่ย รายวัน
11.5 รถยนต์เช่าซื้อ
การประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ ให้บริษัทจัดทำกรมธรรม์ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันภัยแต่ ผู้เดียวเท่านั้น การยกผลประโยชน์ตามส่วนได้เสียให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้บริษัทใช้เอกสารแนบท้าย ร.ย 24 ห้ามให้ส่วนลดกลุ่มสำหรับรถยนต์เช่าซื้อ นอกจากผู้เช่าซื้อคนเดียวกันได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัท 3 คันขึ้นไป
11.6 อาณาเขตที่คุ้มครอง

อัตรา เบี้ยประกันภัยที่กำหนดไว้เป็นอัตราสำหรับการใช้รถยนต์ในอาณาเขตประเทศ ไทย การขยายเพื่อคุ้มครองการใช้รถยนต์ในประเทศพม่า กัมพูชา ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียตนาม และ/หรือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ทำได้โดยคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเดือนละ 5% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี (Gross Annual Premium) แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี (Gross Annual Premium)


ในกรณีที่เป็นการประกันภัยกลุ่มและเป็นการเพิ่มจำนวนรถยนต์นั้น ต้องใช้อัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยรายวัน

11.8 การรับประกันภัยรถยนต์ที่มีอุปกรณ์เพิ่มพิเศษ
บริษัทต้องระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ ในช่องแบบตัวถังว่า “อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ”

ความรู้เรื่องพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

12. การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
การแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการของรถยนต์คันเอาประกันภัย หรือเพิ่ม หรือลดความคุ้มครอง บริษัทจะต้องจัดทำเอกสารแนบท้าย ระบุข้อความตามประเภทการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตามแบบที่กำหนด

รายการแก้ไข เปลี่ยนแปลงมีทั้งสิ้น 27 แบบ ดังนี้

ร.ย. 01 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ผู้เอาประกันภัยสามารถเอาประกันภัยเพิ่ม สำหรับการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งบริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ระบุชื่อเอกสาร “ร.ย.01 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล” และแนบเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติมการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล

ร.ย. 02 การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล
ผู้เอาประกันภัยสามารถเอาประกันภัยเพิ่ม สำหรับการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลคุ้มครอง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งบริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ระบุชื่อเอกสาร “ร.ย. 02 การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล”

ร.ย. 03 การประกันตัวผู้ขับขี่
การแก้ไข เปลี่ยนแปลงการคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา ให้บริษัทจัดทำเอกสารแนบท้ายการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ระบุชื่อเอกสาร “ร.ย. 03 การประกันตัวผู้ขับขี่”

ร.ย. 04 การขยายอาณาเขต
ร.ย. 05 การขยายระยะเวลาประกันภัย
ร.ย. 06 การประกันภัยการค้ารถยนต์ (ป้ายแดง)
กรณีผู้เอาประกันภัยเอาประกันภัยรถสำหรับการค้ารถยนต์ บริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายโดยระบุหมายเลขทะเบียนป้ายแดง ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิใช้ในการค้ารถยนต์ตาม กฎหมาย

ร.ย. 07 การประกันภัยการค้ารถยนต์ (ผู้ขับขี่ระบุชื่อ)
กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ค้ารถยนต์หรืออู่ซ่อมรถยนต์ เอาประกันภัยสำหรับการค้ารถยนต์ (ผู้ขับขี่ระบุชื่อ) บริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายระบุชื่อผู้ขับขี่รถที่ได้รับความคุ้มครองตาม กรมธรรม์

ร.ย. 08 การเพิ่มความคุ้มครอง
ร.ย. 09 การเพิ่มจำนวนรถยนต์ที่เอาประกันภัย
ร.ย. 10 การลดจำนวนรถยนต์ที่เอาประกันภัย
ร.ย. 11 การเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
ร.ย. 12 การเลิกความคุ้มครอง
ร.ย. 13 การลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี
ร.ย. 14 การกำหนดความเสียหายส่วนแรก
ร.ย. 15 การหยุดใช้รถยนต์
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งหยุดการใช้รถยนต์เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืนตาม ข้อ 11.2 บริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายระบุวันเริ่มหยุดการใช้รถคันเอาประกันภัย

ร.ย. 16 การเริ่มใช้รถยนต์หลังวันแจ้งหยุดการใช้
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มใช้รถยนต์หลังวันแจ้งหยุดการใช้รถยนต์ บริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายระบุวันที่เริ่มคุ้มครองใหม่ และคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในระหว่างที่หยุดใช้รถยนต์ตามข้อ 11.2

ร.ย. 17 การแก้รายการรถยนต์
ร.ย. 18 การแก้ไขอัตราเบี้ยประกันภัย
ร.ย. 19 การเปลี่ยนระยะเวลาประกันภัย
ร.ย. 20 การเปลี่ยนจำนวนเงินจำกัดความรับผิด
ร.ย. 21 การเปลี่ยนจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก
ร.ย. 22 การเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์
ร.ย. 23 การเปลี่ยนแปลงผู้เอาประกันภัย ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ
ร.ย. 24 การจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์
ผู้เอาประกันภัยอาจตกลงให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญหาย หรือความเสียหายที่ไม่อาจซ่อมได้สำหรับรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้มีการคุ้มครองตามกรมธรรม์นี้ ให้แก่ผู้รับ ประโยชน์ได้ โดยบริษัทต้องจัดทำเอกสารแนบท้ายระบุชื่อผู้รับประโยชน์

ร.ย. 25 การเปลี่ยนรถยนต์
ร.ย. 26 การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่
ร.ย. 27 การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ การ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่าง ๆ ของกรมธรรม์ประกันภัย หากเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นหรือลดลงต้องคิดเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงเฉลี่ยรายวัน ยกเว้นแต่การบอกเลิกกรมธรรม์โดย ผู้เอาประกันภัย ให้คืนเบี้ยประกันภัยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

วิธีการคำนวณเบี้ยประกันภัย

วิธีการคำนวณเบี้ยประกันภัย

ขั้นที่ 1 พิจารณาประเภทรถยนต์ และประเภทกรมธรรม์ของรถยนต์คันที่ขอเอาประกันภัย

นำเบี้ยประกันภัยพื้นฐานของรถยนต์คันที่ขอเอาประกันภัยตามตารางที่ 1 คูณกับ อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย(ทุกรายการ)ตามตารางที่ 2 คูณกับ อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองตามตารางที่ 3 บวกกับ อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มการประกันภัยตามเอกสารแนบท้าย(ถ้ามี)ตามตารางที่ 4 ลบด้วย ส่วนลดเบี้ยประกันภัยสำหรับความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ ผลลัพธ์คือเบี้ยประกันภัยสำหรับรถยนต์คันที่ขอเอาประกันภัย

ขั้นที่ 2 สำหรับผู้เอาประกันภัยรายที่ต่ออายุสัญญา หรือผู้เอาประกันภัยกลุ่มให้คำนวณเบี้ยประกันภัยต่อจากขั้นที่ 1 ดังนี้

กรณีต่ออายุประกันภัยน้อยกว่า 3 คัน คำนวณเบี้ยประกันภัยโดยนำผลลัพธ์เบี้ยประกันภัยของ แต่ละคัน ลบด้วย ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี(ถ้ามี) หรือ บวกด้วย ส่วนเพิ่มเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดี(ถ้ามี)
กรณีประกันภัยกลุ่ม คำนวณเบี้ยประกันภัยโดยนำเบี้ยประกันภัยของแต่ละคัน ลบด้วย ส่วนลดการประกันภัยกลุ่ม
กรณีต่ออายุประกันภัยกลุ่ม คำนวณเบี้ยประกันภัยโดยนำผลลัพธ์เบี้ยประกันภัยของแต่ละคัน ลบด้วย ส่วนลดการประกันภัยกลุ่ม รวมผลลัพธ์เบี้ยประกันภัยของทุกคันหลังหักส่วนลดการประกันภัยกลุ่ม นำมาคำนวณส่วนลดประวัติความเสียหายของกลุ่มแล้วนำไปเฉลี่ยลดจากเบี้ยประกัน ภัยแต่ละคัน

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยประกันภัย

นาย ก. ต้องการทำประกันภัยรถเก๋ง กลุ่มที่ 4 ขนาดเครื่องยนต์ 1,600 ซี.ซี. เป็นกรมธรรม์แบบ ระบุชื่อผู้ขับขี่ได้แก่ นาย ก. อายุ 26 ปี และนาย ข. อายุ 19 ปี ลักษณะการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล วันที่ จดทะเบียนรถยนต์ 1 กุมภาพันธ์ 2541 ต้องการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในปีที่ 2 โดยในปีที่ ผ่านมาไม่มีการเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทน รายละเอียดที่ขอทำประกันภัยมีดังนี้

1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 300,000 บาท/คน และ 10,000,000 บาท/ครั้ง
2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จำนวน 400,000 บาท/ครั้ง
3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ จำนวน 400,000 บาท
4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ จำนวน 400,000 บาท
5. ความ คุ้มครองตาม ร.ย.01 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ตามข้อ 1 2 และ 3 สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 7 คน จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท/คน
6. ความคุ้มครองตาม ร.ย.02 การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 7 คน จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท/คน
7. ความคุ้มครองตาม ร.ย.03 การประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
8. ความ เสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ สำหรับความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย 5,000 บาท สำหรับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 5,000 บาท
9. วันที่ยื่นขอเอาประกันภัย 31 สิงหาคม 2542

ส่วนลดและส่วนเพิ่มเบี้ยประกันภัย

10. ส่วนลดและส่วนเพิ่มเบี้ยประกันภัย

ในการประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย หรือส่วนเพิ่ม เบี้ยประกันภัยจากอัตราเบี้ยประกันภัยปกติในกรณีดังต่อไปนี้

10.1 การประกันภัยกลุ่ม หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดจำนวน 10% ของเบี้ยประกันภัยในรถแต่ละคัน หลังจากที่หักส่วนลด เบี้ยประกันภัยสำหรับความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบเองแล้ว การประกันภัยกลุ่มต้องปฏิบัติ ดังนี้

ก)ต้องมีประกันภัยพร้อมกัน 3 คันขึ้นไป ถ้าประกันภัยไม่พร้อมกัน ให้ส่วนลดเฉพาะคันที่ 3 และคันต่อๆ ไป
ข) รถยนต์เช่าซื้อจะให้ส่วนลดกลุ่มไม่ได้ นอกจากผู้เช่าซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกัน และได้ เอาประกันภัยรถยนต์ 3 คันขึ้นไป
ค) รถจักรยานยนต์ให้ส่วนลดกลุ่มได้ตามจำนวนคันของรถจักรยานยนต์เท่านั้น ห้ามนับรวมจักรยานยนต์กับรถยนต์อื่นๆ เข้าเป็นกลุ่ม

10.2 อัตราเบี้ยประกันภัยประวัติดี และอัตราเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดี
อัตราเบี้ยประกันภัยประวัติดี คือ อัตราส่วนลดเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยในการต่ออายุการเอาประกัน ภัย โดยในระหว่างปีที่เอาประกันภัยที่ผ่านมาไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อ บริษัท
อัตราเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดี คือ อัตราส่วนเพิ่มเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัย ในการต่ออายุการเอาประกันภัย โดยในระหว่างปีที่เอาประกันภัยที่ผ่านมามีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ อย่างน้อยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป มีจำนวนเงินรวมกันเกิน 200 % ของเบี้ยประกันภัย
ใน กรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทน้อยกว่า 3 คัน บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นลำดับ ดังนี้

ขั้นที่ 1 20% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สำหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัยปีแรก
ขั้นที่ 2 30% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สำหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัย 2 ปีติดต่อกัน
ขั้นที่ 3 40% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สำหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัย 3 ปีติดต่อกัน
ขั้นที่ 4 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ สำหรับรถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้อง ค่าเสียหายต่อบริษัท ในการประกันภัย 4 ปีติดต่อกันหรือกว่านั้น

ทั้งนี้ บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ต่ออายุการประกันภัย กับบริษัท และเฉพาะข้อตกลงคุ้มครองที่ต่ออายุเท่านั้น
คำว่า “รถยนต์คันที่ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัท” ให้หมายความรวมถึงรถยนต์คันที่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ค่าเสียหายนั้นมิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
หากในระหว่างปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย ประวัติดีมีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อบริษัทแล้ว ในการต่ออายุการประกันภัยปีต่อไป บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้

* ลด ลงหนึ่งลำดับขั้นจากเดิม หากการเรียกร้องนั้นเกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย หรือผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
* ลด ลงสองลำดับขั้นจากเดิม แต่ไม่เกินอัตราปกติ หากมีการเรียกร้องที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปรวมกันมีจำนวนเงินเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย

ใน กรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทคันเดียวหรือหลายคัน และมีการเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างปีที่เอาประกันภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ อย่างน้อยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปรวมกันมีจำนวนเงินเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย บริษัทจะเพิ่มเบี้ยประกันภัยเป็นขั้นๆ ดังนี้

ขั้นที่ 1 20% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ
ขั้นที่ 2 30% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าว เกิดขึ้นต่อบริษัท 2 ปีติดต่อกัน
ขั้นที่ 3 40% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าว เกิดขึ้นต่อบริษัท 3 ปีติดต่อกัน
ขั้นที่ 4 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ในกรณีมีค่าเสียหายดังกล่าว เกิดขึ้นต่อบริษัท 4 ปีติดต่อกัน หรือกว่านั้น

ใน กรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกเพิ่มเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดีไม่ว่าลำดับขั้น ใด และในปีกรมธรรม์ประกันภัยนั้น มีการเรียกร้องค่าเสียหาย ที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท หรือไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ถึง 2 ครั้ง หรือถึง 2 ครั้ง แต่มีค่าสินไหมทดแทนไม่ถึง 200% ของเบี้ยประกันภัยแล้ว ในการต่ออายุการประกันภัย บริษัทจะใช้เบี้ยประกันภัยในลำดับขั้นเดิมเช่นปี ที่ผ่านมา แต่หากไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือมีการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือมีการเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น มิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้แล้ว ในการต่ออายุการประกันภัยในปีต่อไป บริษัทจะใช้เบี้ยประกันภัยในอัตราปกติ

10.3 กรณีผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป บริษัทจะลด เบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้

30% ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับ บริษัท หัก ด้วยจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 3 คันถึง 9 คัน
35% ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับ บริษัท หักด้วยจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 10 คันถึง 19 คัน
40% ของเบี้ยประกันภัยของปีที่ต่ออายุของรถยนต์ทุกคันที่เอาประกันภัยไว้กับ บริษัท หักด้วยจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัทในปีที่เอาประกันภัย ในกรณีได้เอาประกันภัยรถยนต์ 20 คันหรือมากกว่านั้น

ทั้งนี้ บริษัทจะลดเบี้ยประกันภัยให้ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ต่ออายุการประกันภัย กับบริษัทและเฉพาะข้อตกลงคุ้มครองที่ต่ออายุเท่านั้น คำว่า “จำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบริษัท” ไม่รวมถึงค่าเสียหายที่มิได้เกิดจากความประมาทของรถยนต์คันเอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ค่าเสียหายให้ถือตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปและสำรองไว้หักด้วยค่าสินไหมรับ คืน โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายในการจัดการค่าสินไหมทดแทน ถ้าการประกันภัยกลุ่มได้แยกประกันภัยเป็นคันๆ ซึ่งมีเวลาสิ้นสุดไม่พร้อมกัน ให้คำนวณ ส่วนลดนี้ต่อเมื่อการประกันภัยรถทุกคันได้สิ้นสุดลงตามปีปฏิทิน เช่น รถบางคันในการประกันภัยกลุ่มหมดอายุในเดือนมกราคม 2550 บางคันหมดในเดือนกรกฎาคม 2550 บางคันหมดพฤศจิกายน 2550 การคำนวณส่วนลด ให้รอถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 โดยคิดตามเบี้ยประกันภัยที่ได้รับทั้งหมด สำหรับกลุ่มรถยนต์และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาของการประกันภัยทุก คัน

10.4 ความเสียหายส่วนแรก
ความเสียหายส่วนแรก หมายถึง ส่วนแรกของความรับผิด หรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง แบ่งเป็น

* ค่า เสียหายส่วนแรก ที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกันภัย โดยอาจตกลงให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ หรือความเสียหายส่วนแรก สำหรับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งในกรณีนี้บริษัทจะต้องลดเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้

(1) ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก
ส่วนที่เกิน 5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก

(2) ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถจักรยานยนต์
1,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก
ส่วนที่เกิน 1,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 20% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก

(3) ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
5,000 บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก
ส่วนเกิน 5,000 บาทแรก ได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย 1% ของจำนวนเงิน ความเสียหายส่วนแรก
ความเสียหายส่วนแรก เนื่องจากผู้เอาประกันภัยผิดสัญญา เช่น รถยนต์คันเอาประกันภัยไปเกิดความเสียหาย ในขณะที่มีบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ เป็นต้น
ความเสียหายส่วนแรก สำหรับกรณีที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เช่น ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดจากการชน ซึ่งผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้

40,000 บาทภายใน 7 วันกับ Diamond Holiday...ของจริง มาเป็นต้นสายก่อนใคร...ถ้าคุณรู้จัก TVI express นี่คือโปรแกรมที่จะมาทดแทนและอุดปัญหาที่เคยพบเจอ

www.diamondholidaytravel.co.cc